VALUES MATTER
  • Home
  • AUTHORS TEAM
  • PURPOSE, BELIEFS & VALUES
  • 4 LEGACY WORDS
    • THE VISION OF THE WAVES
    • THE SEVEN SPHERES OF INFLUENCE
    • THE CHRISTIAN MAGNA CARTA
    • END BIBLE POVERTY
  • DISCOVERY STARTERS
  • THE BELIEF TREE
  • COVENANTS
    • THE MANILA COVENANT
    • THE RED SEA COVENANT
    • THE NANNING COVENANT
    • THE JUBILEE COVENANT
    • THE SINGAPORE COVENANT
    • A COVENANT TO END BIBLE POVERTY
  • Who is Jesus to you
  • TRIPOD MESSAGE
  • VALUES COURSE
  • STORE
    • Paperback - English
    • Paperback - Espanol
    • Case of 40 - English
    • Case of 40 - Espanol
    • AUDIO BOOK
    • KINDLE - English
    • Francais (French)
    • Norsk (Norwegian)
    • Український (Ukrainian)
    • ไทย (Thai)
    • Tiếng Việt (Vietnamese)
    • മലയാളം (Malayalam)
    • हिंदी (Hindi)
    • తెలుగు (Telugu)
    • தமிழ் (Tamil)
    • русский (Russian)
    • Svenska (Swedish)

วัตถุประสงค์หลักความเชื่อ และค่าพื้นฐาน วายแวม

ภาษาอังกฤษ
ภาษาจีนกลาง
สเปน
ฝรั่งเศส
เกาหลี
รัสเซีย
ฟาร์ซี
ดาวน์โหลด
คำแถลงจุดประสงค์ หลักการความเชื่อ  
และค่านิยมพื้นฐาน  
ของคณะอนุชนนานาชาติ - วายแวม  
(พฤษภาคม 2020) 

เอกสารฉบับนี้ได้นำเสนอจุดประสงค์ หลักความเชื่อ  
ค่านิยมพื้นฐานและแนวทางปฏิบัติที่วายแวมเองได้ยึดถือด้วยใจจริง  
โดยได้รวบรวมไว้เพื่อตอบสนองต่อการทรงนำอย่างเฉพาะเจาะจงของพระเจ้ามาตั้งแต่ปี ค.ศ.  1960 ที่วายแวมได้ก่อตั้งขึ้น  
พระเจ้าทรงย้ำให้เราเขียนเอกสารฉบับนี้ขึ้นเพื่อที่จะส่งต่อกับคนรุ่นต่อๆ ไป เพราะจุดประสงค์  หลักความเชื่อ  
และค่านิยมที่เรามีร่วมกันในวายแวมเป็นหลักการชี้นำต่อการเติบโตของพันธกิจที่มีมาในอดีตแ ละที่จะมีในอนาคต บางหลักการเป็นสิ่งที่คริสเตียนทุกที่ได้ถือปฏิบัติอยู่แล้ว  บางหลักการถือเป็นจุดเด่นขององค์กรวายแวม การผสมผสานระหว่างจุดประสงค์ หลักความเชื่อ  ค่านิยม และการปฏิบัติเหล่านี้ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของครอบครัววายแวม  หรือที่เรียกกันว่า ดีเอ็นเอ อันเป็นกรอบที่เรายึดถือสูงสุดเพราะจะช่วยกำหนดว่า เราเป็นใคร  เราจะมีวิถีชีวิตอย่างไร และเราจะตัดสินใจอย่างไร  
บุคคลที่จะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวายแวมได้ 

ต้องสำเร็จการอบรมจากโรงเรียนสร้างสาวกของวายแวม และเป็นผู้ที่ยอมรับคำแถลงจุดประสงค์  หลักการความเชื่อ ค่านิยมพื้นฐาน คำเผยที่เป็นมรดกตกทอดและพันธสัญญาเหล่านี้ของเรา  ถ้าจะทำสำเนาแจกกรุณาทำสำเนาให้ครบทุกหน้าของเอกสารฉบับนี้  

คำแถลงจุดประสงค์ของวายแวม  
คณะอนุชนนานาชาติ (วายแวม)  
เป็นองค์กรเคลื่อนไหวนานาชาติของคริสเตียนจากหลากหลายคณะนิกายที่อุทิศตนต่อการนำเส นอถึงพระเยซูคริสต์ด้วยตนเองให้กับคนในยุคนี้และในยุคต่อๆ ไป  
ทำการระดมสาวกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อช่วยในงานนี้  

และจัดอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เชื่อให้ทำส่วนของตนเองเพื่อให้พระมหาบัญชาสำเร็จ  ด้วยฐานะของการเป็นพลเมืองในอาณาจักรของพระเจ้า เราจึงรับการทรงเรียกให้รักพระเจ้า  นมัสการและเชื่อฟังพระองค์ ให้รักและรับใช้พระกายซึ่งนั่นก็คือ คริสตจักร  ให้รักผู้คนจากทุกที่ซึ่งรวมถึงการนำเสนอพระกิตติคุณอย่างครบถ้วน เพื่อให้คนๆ  นั้นมีชีวิตที่ดีพร้อม และไปทั่วทั้งโลกนี้ 

เราในฐานะที่เป็นคนวายแวม เราเชื่อในพระเจ้า พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์  และในพระคริสตธรรมคัมภีร์ว่าเป็นถ้อยคำที่เกิดจากการดลใจและมีสิทธิอำนาจมาจากพระเจ้า  ซึ่งเปิดเผยว่าพระเยซูเป็นพระบุตรของพระเจ้า ผู้ที่เป็นมนุษย์จริงๆ และเป็นพระเจ้าอย่างแท้จริง  ส่วนมนุษย์คือผู้ที่ถูกสร้างขึ้นตามพระฉายาของพระเจ้า  
โดยพระเจ้าทรงสร้างเราเพื่อให้มีชีวิตนิรันดร์ผ่านทางพระเยซูคริสต์เจ้า  

และแม้ว่าคนทุกคนจะเป็นคนบาปและเสื่อมไปจากพระสิริของพระเจ้า  
พระเจ้ากลับทำให้ชีวิตนิรันดร์เกิดขึ้นได้ผ่านทางการมาบังเกิดเป็นมนุษย์ การมีชีวิต 
การสิ้นพระชนม์ การฟื้นขึ้นจากความตาย และการเสด็จขึ้นไปบนสวรรค์ของพระเยซูคริสต์เจ้า  ดังนั้นการกลับใจ การมีความเชื่อ ความรัก  
และการเชื่อฟังถือเป็นการตอบสนองที่เหมาะสมต่อพระคุณที่พระเจ้าเป็นฝ่ายมอบให้เราก่อน ผ่านทางพันธกิจที่เกิดผลของพระวิญญาณบริสุทธิ์  
พระเจ้าประสงค์ให้ทุกคนได้รับความรอดและรู้ถึงความจริง  

และที่ฤทธิ์อำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์จะสำแดงในเราและผ่านทางเรา เพื่อทำให้พระบัญชาสุดท้ายของพระคริสต์สำเร็จ “พวกท่านจงออกไปทั่วโลก  ประกาศข่าวประเสริฐแก่มนุษย์ทุกคน” (มาระโก 16:15) และ  

“ท่านทั้งหลายจงออกไปและนำชนทุกชาติมาเป็นสาวกของเรา” (มัทธิว 28:19) หลักการความเชื่อและค่านิยมพื้นฐานของวายแวม  
ก. หลักความเชื่อของวายแวม  

คณะอนุชนนานาชาติ (วายแวม)  
ยืนยันว่าพระคริสตธรรมคัมภีร์เป็นถ้อยคำที่ได้รับการดลใจและมีสิทธิอำนาจมาจากพระเจ้า  และเป็นจุดอ้างอิงที่สมบูรณ์แก่การดำเนินชีวิตทุกด้านและในพันธกิจ  
บนพื้นฐานของถ้อยคำของพระเจ้า ตัวตนของพระเจ้า และความรอดที่พระองค์ได้มอบให้  ผ่านทางการลบล้างบาปของพระเยซู (การสิ้นพระชนม์ การฝังพระศพ  
และการฟื้นขึ้นจากความตาย) การตอบสนองดังต่อไปนี้เป็นสิ่งที่วายแวมเน้นปฏิบัติอย่างมาก : • การนมัสการ เรารับการทรงเรียกให้สรรเสริญและนมัสการพระเจ้าแต่เพียงผู้เดียว (อพยพ 20:2-3; เฉลยธรรมบัญญัติ6:4-5; 2 พงษ์กษัตริย์17:35-39; 1 พงศาวดาร 16:28-30; เนหะมีย์8:2-10;  มาระโก 12:29-30; โรม 15:5-13; ยูดา 24-25; วิวรณ์5:6-14; วิวรณ์19:5-8)  

• ความบริสุทธิ์ 
เรารับการทรงเรียกให้นำอย่างบริสุทธิ์และมีชีวิตชอบธรรมเป็นแบบอย่างชี้นำถึงธรรมชา ติและพระลักษณะของพระเจ้า (เลวีนิติ 19:1-2; สดุดี 51:7-11; เยเรมีย์ 18:1-11; เอเสเคียล 20:10- 12; เศคาริยาห์ 13:9; ลูกา 1:68-75; เอเฟซัส 4:21-32; ทิตัส 2:11-14; 1 เปโตร 2:9,21-25; 1 ยอห์น  3:1-3) 

• การเป็นพยาน 
เรารับการทรงเรียกให้ประกาศข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์กับผู้ที่ไม่รู้จักพระองค์ (สดุดี 78:1-7; อิสยาห์ 40:3-11; มีคาห์ 4:1-2; ฮาบากุก 2:14; ลูกา 24:44-48; กิจการ 3:12-26; กิจการ  10:39-43; 1 โครินธ์ 9:19-23; 2 โครินธ์ 2:12-17; 1 เปโตร 3:15-18) 

• การอธิษฐาน 
เรารับการทรงเรียกให้ร่วมกันอธิษฐานวิงวอนเพื่อผู้อื่นและสิ่งที่อยู่ในพระทัยของพระเจ้า  รวมถึงการยืนหยัดต่อสู้กับศัตรูในทุกรูปแบบ (ปฐมกาล 18:20-33; อพยพ 32:1-16; ผู้วินิจฉัย  3:9,15; 1 พงกษัตริย์ 8:22-61; เอเสเคียล 22:30-31; เอเสเคียล 33:1-11; มัทธิว 6:5-15; มัทธิว 9:36- 38; เอเฟซัส 3:14-21; 2 เธสะโลนิกา 3:1-5) 

• การสามัคคีธรรม เรารับการทรงเรียกให้อุทิศตนแก่คริสตจักร 
ทั้งโดยการอภิบาลในท้องที่ และการเพิ่มพูนแบบเคลื่อนที่ของคริสตจักร (2 พงศาวดาร  29:20-30; สดุดี 22:25-28; สดุดี 122:1-4; โยเอล 2:15-17; มัทธิว 18:19-20; กิจการ 2:44-47; กิจการ  4:32-35; 1 โครินธ์ 14:26-40; เอเฟซัส 2:11-18; ฮีบรู 10:23-25)

• การรับใช้  
เรารับการทรงเรียกให้มีส่วนในการสนับสนุนวัตถุประสงค์ของอาณาจักรของพระเจ้าใน ทุกด้านของชีวิต (เฉลยธรรมบัญญัติ 15:7-11; เฉลยธรรมบัญญัติ 24:17-22; สดุดี112:4-9; สุภาษิต  11:10-11; เศคาริยาห์ 7:8-10; มัทธิว 5:14-16; 2 เธสะโลนิกา 3:13; ทิตัส 3:4-8; ฮีบรู 13:15-16;  ยากอบ 2:14-26) 
ข. ค่านิยมพื้นฐานของวายแวม  

1. รู้จักพระเจ้า  
วายแวมอุทิศตนต่อการรู้จักพระเจ้า ธรรมชาติ พระลักษณะ และวิถีทางของพระองค์  ดังที่ได้สำแดงผ่านทางพระคริสตธรรมคัมภีร์  
ซึ่งถือเป็นถ้อยคำที่ได้รับการดลใจและมีสิทธิอำนาจจากพระเจ้า  

เราแสวงหาที่จะสำแดงถึงพระเจ้าในทุกด้านของชีวิตและในพันธกิจของเรา  เมื่อรู้จักกับพระเจ้าและอยู่ในการสามัคคีธรรมกับพระองค์แล้ว  
เราจะมีความปรารถนาที่จะแบ่งปันเกี่ยวกับพระเจ้าให้กับผู้อื่นโดยอัตโนมัติ (2 พงศ์กษัตริย์ 19:19; โยบ 42:5; สดุดี 46:10; สดุดี103:7-13; เยเรมีย์ 9:23-24; โฮเซยา  6:3; ยอห์น 17:3; เอเฟซัส 1:16-17; ฟิลิปปี 3:7-11; 1 ยอห์น 2:4-6) 

2. ทำให้พระเจ้าเป็นที่รู้จัก  
วายแวมรับการทรงเรียกที่จะทำให้ทั่วทั้งโลกได้รู้จักพระเจ้า  
และเข้าถึงสังคมทุกด้านผ่านทางการประกาศ การฝึกอบรมและพันธกิจเมตตา  เราเชื่อว่าจิตวิญญาณที่ได้รับความรอดนั้นควรส่งผลในการเปลี่ยนแปลงของสังคม  ดังนั้นเราจึงเชื่อฟังพระบัญชาของเยซูโดยการสร้างสาวกให้กับชนทุกชาติ (1 พงศาวดาร 16:24-27; สดุดี 68:11; สดุดี 71:15-16; สดุดี 145:4-7; มัทธิว 28:18-20;  มาระโก 16:15; กิจการ 1:8; กิจการ 13:1-4ก; โรม 10:8-15; โรม 15:18-21) 

3. การฟังเสียงของพระเจ้า  
วายแวมอุทิศตนต่อการสรรสร้างด้วยกันกับพระเจ้าผ่านทางการฟังเสียงของพระองค์  การอธิษฐานด้วยคำอธิษฐานที่เป็นของพระองค์และการเชื่อฟังคำสั่งของพระองค์ทั้งในเรื่องเล็ก และเรื่องใหญ่ เราพึ่งพาในการได้ยินเสียงของพระเจ้าทั้งที่เป็นการส่วนตัว ในรูปแบบทีมงาน  และในกลุ่มคณะ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการตัดสินใจของเรา 
(1 ซามูเอล 3:7-10; 2 พงศาวดาร 15:2-4; สดุดี 25:14; อิสยาห์ 6:8; อาโมส 3:7; ลูกา 9:35;  ยอห์น 10:1-5; ยอห์น 16:13-15; ฮีบรู3:7-8,15; วิวรณ์ 2:7,11,17,27; 3:6,13,22)
 

4. การนมัสการ & การอธิษฐานวิงวอน  
วายแวมอุทิศตนต่อการนมัสการพระเจ้าและการร่วมกันอธิษฐานวิงวอนเสมือนเป็นส่วนสำคัญขอ งชีวิตประจำวัน เรารู้ถึงความตั้งใจของซาตานที่จะทำลายงานของพระเจ้า 
และเราพึ่งพาการทรงสถิตของพระเจ้าที่ให้อำนาจแก่เรา นั่นก็คือพระวิญญาณบริสุทธิ์  เพื่อเอาชนะแผนงานของซาตานในชีวิตส่วนบุคคล และการงานของประชาชาติ (1 ซามูเอล 7:5; 2 พงศาวดาร 7:14; สดุดี 84:1-8; สดุดี 95:6-7; สดุดี 100:1-5; มาระโก  11:24-25; กิจการ 1:14; เอเฟซัส 6:13-20; 1 เธสะโลนิกา 5:16-19; 1 ทิโมธี 2:1-4) 

5. เป็นนักบุกเบิกนิมิต  
วายแวมรับการทรงเรียกให้เป็นนักบุกเบิกนิมิต โดยการรับนิมิต  
บำรุงเลี้ยงดูและปลดปล่อยนิมิตใหม่ๆ ที่มาจากพระเจ้าอยู่เสมอ 
เราส่งเสริมการบุกเบิกพันธกิจใหม่และวิธีการใหม่ๆ  
โดยที่ต้องพร้อมต่อการปรับให้เข้ากับคนทุกรุ่น ทุกเผ่าพันธ์ุและทุกด้านของสังคม  เราเชื่อว่าการทรงเรียกในแบบอัครทูตของวายแวมจะต้องมีการผสมผสานของผู้อาวุโสฝ่ายวิญ ญาณ เสรีภาพทั้งในฝ่ายวิญญาณและความสัมพันธ์ ซึ่งตั้งอยู่บนถ้อยคำของพระเจ้า (กันดารวิถี 12:6; 1 ซามูเอล 12:16; สุภาษิต 29:18; เอเศเคียล 1:1; ฮาบากุก 2:2-3; มาระโก  1:35-39; ลูกา 9:1-6; กิจการ 16:9-10; กิจการ 26:19; 2 เปโตร 3:9-13) 

6. เสริมสร้างและเปิดโอกาสให้แก่อนุชน  
วายแวมรับการทรงเรียกให้เสริมสร้างอนุชน  
เราเชื่อว่าพระเจ้าให้ของประทานและเรียกเหล่าอนุชนให้เป็นหัวหอกของนิมิตและพันธกิจ  เราอุทิศตนต่อการให้คุณค่า วางใจ ฝึกอบรม ส่งเสริมสนับสนุนและเปิดโอกาสให้แก่พวกเขา  พร้อมทั้งปล่อยให้พวกเขาได้ทำ  
อนุชนไม่ได้เป็นเพียงแค่คริสตจักรในอนาคตแต่พวกเขาเป็นคริสตจักรในปัจจุบันด้วยเช่นกัน  เราตั้งใจที่จะก้าวตามการนำของพวกเขาตามพระประสงค์ของพระเจ้า 
(1 ซามูเอล 17:32-50; ปัญญาจารย์ 4:13-14; ปัญญาจารย์12:1-7; เยเรมีย์ 1:5-10; ดาเนียล  1:17-20; โยเอล 2:28; ยอห์น 6:9; กิจการ 16:1-5; 1 ทิโมธี 4:12-16; 1 ยอห์น 2:12-14) 

7. เป็นโครงสร้างที่กว้างและกระจายอำนาจ  
วายแวมเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวของอาสาสมัครที่มีพระคริสต์เป็นศูนย์กลาง  และมีความเชื่อเป็นพื้นฐาน เรามีความเป็นหนึ่งเดียวกันเนื่องด้วยการมีนิมิต หลักความเชื่อ  ค่านิยมพื้นฐานเดียวกัน รวมทั้งความสัมพันธ์อันดีด้วย  
เราไม่มีโครงสร้างที่รวมอำนาจอยู่ที่ศูนย์กลาง พันธกิจทุกๆ  
พันธกิจของวายแวมมีสิทธิพิเศษและความรับผิดชอบในด้านฝ่ายจิตวิญญาณที่จะพัฒนาและรัก ษาความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มผู้นำและผู้อาวุโสที่เหมาะสม 
(อพยพ 18:13-26; กันดารวิถี 1:16-19; กันดารวิถี 11:16-17,24-30; เฉลยธรรมบัญญัติ  29:10-13; โยชูวา 23:1-24:28; กิจการ 14:23; กิจการ 15:1-31; 1 โครินธ์ 3:4-11; ทิตัส 1:5- 9; ฮีบรู 13:7,17)

8. มีความเป็นนานาชาติและรวมคณะนิกาย  
วายแวมมีความเป็นนานาชาติและรวมคณะนิกายทั้งระดับท้องถิ่นและระดับโลก  เราเชื่อว่าความหลากหลายของเชื้อชาติ ภาษาและคณะนิกาย  
พร้อมกับวัฒนธรรมด้านที่มีการกู้คืนแล้วนั้น  
เป็นปัจจัยบวกที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งและการเติบโตในงานรับใช้ 
(ปฐมกาล 12:1-4; ปฐมกาล 26:2-5; สดุดี 57:9-10; เยเรมีย์ 32:27; ดาเนียล 7:13-14; กิจการ  20:4; 1 โครินธ์ 12:12-31; เอเฟซัส 4:1-16; โคโลสี 3:11; วิวรณ์ 7:9) 

9. การมีมุมมองและโลกทัศน์ตามพระคัมภีร์  
วายแวมรับการทรงเรียกให้มีโลกทัศน์ตามพระคัมภีร์ เราเชื่อว่าพระคัมภีร์  เป็นหนังสือสำหรับชีวิตในทุกๆ ด้าน ซึ่งแบ่งแยกความดีกับความชั่ว  
สิ่งที่ถูกต้องกับสิ่งที่ผิดอย่างชัดเจน ด้านความประพฤติในชีวิตย่อมมีความเป็นฝ่ายวิญญาณเท่าๆ  กับการทำพันธกิจ ทุกสิ่งที่ทำเพราะการเชื่อฟังพระเจ้าถือเป็นฝ่ายวิญญาณทั้งสิ้น  เราแสวงหาโอกาสที่จะถวายเกียรติแด่พระเจ้าด้วยทุกสิ่งที่เราทำ  
ด้วยการเตรียมความพร้อมทั้งชายและหญิงของพระเจ้า 
แล้วส่งพวกเขาออกไปเพื่อทำหน้าที่รับใช้และมีอิทธิพลด้านดีต่อทุกสถาบันของสังคม (เฉลยธรรมบัญญัติ 8:1-3; เฉลยธรรมบัญญัติ 32:45-47; 2 พงศ์กษัตริย์ 22:8; สดุดี 19:7-11;  ลูกา 8:21; ยอห์น 8:31-32; ฟิลิปปี 4:8-9; 2 ทิโมธี 3:16-17; ฮีบรู 4:12-13; ยากอบ 4:17) 

10. ทำงานอย่างเป็นทีม  
วายแวมรับการทรงเรียกให้ทำงานเป็นทีมในทุกๆ ด้าน ของพันธกิจและการเป็นผู้นำ  เราเชื่อว่าการผสมผสานอย่างครบถ้วนในของประทาน การทรงเรียก ทัศนคติ พันธกิจและคนหลายรุ่นที่ทำงานร่วมกันอย่างเป็นหนึ่งเดียวในทุกระดับของพันธกิจจะก่อให้เกิด สติปัญญาและความปลอดภัย  
การแสวงหาน้ำพระทัยของพระเจ้าและการตัดสินใจด้วยกันเป็นทีมเปิดโอกาสให้มีการรับผิดชอ บร่วมกัน และมีส่วนทำให้ความสัมพันธ์ แรงจูงใจ ความรับผิดชอบ  
และความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของนิมิตนั้นดีมากยิ่งขึ้น  
(เฉลยธรรมบัญญัติ 32:30-31; 2 พงศาวดาร 17:7-9; สุภาษิต 15:22; ปัญญาจารย์ 4:9-12;  มาระโก 6:7-13; โรม 12:3-10; 2 โครินธ์ 1:24; เอเฟซัส 5:21; ฟิลิปปี2:1-2; 1 เปโตร 4:8) 

11. สำแดงความเป็นผู้นำด้วยท่าทีผู้รับใช้  
วายแวมรับการทรงเรียกให้เป็นผู้นำโดยมีวิถีชีวิตที่มีท่าทีของผู้รับใช้มากกว่าที่จะเป็นผู้นำแบบถื อยศ  
ผู้นำแบบผู้รับใช้คือผู้ที่ให้เกียรติแก่ของประทานและการทรงเรียกของผู้ที่อยู่ภายใต้การดูแลขอ งตน อีกทั้งยังปกป้องสิทธิและอภิสิทธิ์ของผู้ที่อยู่ภายใต้ตนอีกด้วย  
เหมือนอย่างที่พระเยซูได้รับใช้สาวกของพระองค์  
เราเน้นให้ผู้ที่มีหน้าที่ในการเป็นผู้นำต้องรับใช้คนที่อยู่ภายใต้การนำของตน  (เฉลยธรรมบัญญัติ 10:12-13; สดุดี 84:10; อิสยาห์ 42:1-4; มีคาห์ 6:8; มาระโก 10:42-45;  ยอห์น 13:3-17; โรม 16:1-2; กาลาเทีย 5:13-14; ฟิลิปปี 2:3-11; 1 เปโตร 4:10-11)

12. รู้จักปฏิบัติก่อน แล้วจึงสอน  
วายแวมอุทิศตนในการรู้จักปฏิบัติก่อนแล้วจึงสอน  
เราเชื่อว่าการได้มีประสบการณ์ก่อนนั้นจะทำให้คำสอนของเรามีสิทธิอำนาจยิ่งขึ้น  การมีคุณลักษณะตามแบบพระเจ้าและการทรงเรียกของพระองค์มีความสำคัญเหนือยิ่งกว่าของป ระทาน ความสามารถ และความรู้ความชำนาญของตัวบุคคล 
(เฉลยธรรมบัญญัติ 4:5-8; เอสรา 7:10; สดุดี 51:12-13; สดุดี 119:17-18; สุภาษิต 1:1-4;  มัทธิว 7:28-29; กิจการ 1:1-2; โคโลสี 3:12-17; 2 ทิโมธี4:1-5; 2 เปโตร 1:5-10) 

13. เป็นผู้ที่เน้นด้านความสัมพันธ์  
วายแวมอุทิศตนต่อการเป็นผู้ที่เน้นด้านความสัมพันธ์ในการดำเนินชีวิตและการทำงานร่วมกัน  เราปรารถนาที่จะเป็นหนึ่งเดียวกันผ่านทางการดำเนินชีวิตที่บริสุทธิ์ การสนับสนุนซึ่งกันและกัน  มีความโปร่งใสต่อกัน การถ่อมใจและการสื่อสารอย่างเปิดเผย 
มากกว่าการยึดติดกับโครงสร้างและกฎเกณฑ์ 
(เลวีนิติ 19:18; สดุดี 133:1-3; สุภาษิต 17:17; สุภาษิต 27:10; ยอห์น 13:34-35; ยอห์น 15:13-17; ยอห์น 17:20-23; โรม 13:8-10; 1 ยอห์น 1:7; 1 ยอห์น 4:7-12)
 

14. ให้คุณค่าต่อตัวบุคคล  
วายแวมรับการทรงเรียกให้เห็นคุณค่าของแต่ละบุคคล  
เราเชื่อในโอกาสที่เสมอภาคและความยุติธรรมสำหรับทุกคน  
เพราะการถูกสร้างขึ้นตามพระฉายาของพระเจ้า ผู้คนจากชนทุกชาติ  
ทุกช่วงอายุและทุกหน้าที่ต่างก็มีส่วนร่วมและการทรงเรียกที่พิเศษ  
เราทุ่มเทในการให้เกียรติแก่ผู้นำซึ่งพระเจ้าเป็นผู้ประทานให้  
และกับของประทานในการทำพันธกิจของทั้งหญิงและชาย  
(ปฐมกาล 1:27; เลวีนิติ 19:13-16; เฉลยธรรมบัญญัติ 16:18-20; สดุดี 139:13-16; มาระโก  8:34-37; กิจการ 10:34-35; กาลาเทีย 3:28; เอเฟซัส 6:5-9; ฮีบรู 2:11-12; ยากอบ 2:1-9) 

15. ให้คุณค่าต่อครอบครัว  
วายแวมยืนยันถึงความสำคัญของครอบครัวในการรับใช้พระเจ้าด้วยกันในงานพันธกิจ  ไม่ใช่เพียงแค่พ่อและแม่ หรือเพียงคนใดคนหนึ่งเท่านั้น  
เรายังต้อนรับครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในการทำพันธกิจกับเรา  
เราส่งเสริมในการพัฒนาครอบครัวให้เข้มแข็งและสมบูรณ์  
ด้วยการให้สมาชิกครอบครัวมีส่วนร่วมกับการทรงเรียกในงานรับใช้และการถวายของประทาน ในทางที่เป็นเอกลักษณ์และสอดคล้องกัน  
เราส่งเสริมและร่วมยินดีกับทัศนคติตามพระคัมภีร์ที่พระเจ้าทรงมีพระประสงค์ให้ผู้ชายหนึ่งคนส มรสกับผู้หญิงหนึ่งคน 
(ปฐมกาล 2:21-24; ปฐมกาล 18:17-19; เฉลยธรรมบัญญัติ 6:6-7; สุภาษิต 5:15-23; สุภาษิต  31:10-31; มาลาคี 2:14-16; มัทธิว 19:3-9; 1 โครินธ์ 7:1-16; 1 ทิโมธี 3:2-5; ฮีบรู 13:4)

16. ฝึกฝนการพึ่งพาพระเจ้า  
วายแวมเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวของอาสาสมัครที่ถูกเรียกให้ฝึกฝนชีวิตตนเองในการพึ่งพาพระเจ้าเ พื่อจัดเตรียมสำหรับความจำเป็นทางการเงิน  
ทั้งความจำเป็นที่เป็นของส่วนตัวและของทีมวายแวมหรือในชุมชนวายแวมเอง  ล้วนได้รับการสนับสนุนหลักๆ มาจากคนของพระองค์  
พระเจ้าได้ให้แก่เราด้วยใจกว้างขวางอย่างไร  
เราก็ปรารถนาที่จะเป็นผู้ให้ด้วยใจกว้างขวางเช่นนั้น คนวายแวมจึงมอบตนเอง  เวลาและความสามารถแด่พระเจ้าผ่านทางการรับใช้โดยที่ไม่คาดหวังจะได้สิ่งตอบแทน (ปฐมกาล 22:12-14; อพยพ 36:2-7; กันดารวิถี 18:25-29; มาลาคี 3:8-12; มัทธิว 6:25-33;  ลูกา 19:8-9; 2 โครินธ์ 8:1-9:15; ฟีลิปปี 4:10-20; ทิตัส 3:14; 3 ยอห์น 5-8) 

17. ให้การต้อนรับอยู่เสมอ  
วายแวมยืนยันว่าพันธกิจแห่งการต้อนรับเป็นเหมือนกับการแสดงถึงพระลักษณะของพระเจ้าและ การให้คุณค่าแก่ผู้คน เราเชื่อว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะเปิดหัวใจ เปิดบ้าน  
และเปิดสถานที่ของวายแวมเพื่อรับใช้และให้เกียรติต่อกันและกัน ต่อแขกของเรา  ต่อคนยากไร้และคนขัดสน  
โดยไม่ใช่เป็นการกระทำตามมารยาททางสังคมแต่เป็นการแสดงถึงความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  (ปฐมกาล 18:1-8; 2 ซามูเอล 9:1-11; สดุดี 68:5-6; สุภาษิต 22:9; อิสยาห์ 58:7; มัทธิว 25:31- 46; กิจการ 28:7-8; โรม 12:13; ฮีบรู 13:1-3; 1 เปโตร 4:9) 

18. สื่อสารด้วยความซื่อสัตย์  
วายแวมเชื่อมั่นว่าทุกสิ่งเกิดขึ้นได้เพราะพระเจ้าทรงสื่อสาร ฉะนั้น  
วายแวมจึงมุ่งมั่นที่จะสื่อสารด้วยความจริง ถูกต้อง ในเวลาที่เหมาะสม และตรงประเด็น  เราเชื่อว่าการสื่อสารที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง  
การมีครอบครัวและชุมชนที่ดี ตลอดจนพันธกิจที่เกิดผลดี 
(ปฐมกาล 1:3-5; กันดารวิถี 23:19; สุภาษิต 10:19; สุภาษิต 25:9-14; เศคาริยาห์ 8:16-17;  มัทธิว 5:33-37; ลูกา 4:16-22; ยอห์น 1:1-5; โคโลสี 4:6; ยากอบ 3:1-18)

______________ 

หมายเหตุ ทางประวัติศาสตร์: เอกสารฉบับนี้ได้รวบรวมคำแถลงจุดประสงค์ หลักการความเชื่อ  และค่านิยมพื้นฐานของวายแวม 
คำแถลงจุดประสงค์ของวายแวมได้ถูกเขียนขึ้นในช่วงต้นๆ ของปี 1960  
เราได้ตั้งใจที่จะไม่เขียน “คำแถลงแห่งความเชื่อ” เนื่องจากว่าเราเป็น  
“กลุ่มเคลื่อนไหวของคริสเตียนที่มาจากหลายคณะนิกาย”  

และต้องการที่จะทำให้ชัดเจนว่าทำไมพระเจ้าได้เรียกให้ก่อตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวนี้ขึ้นมา หลักความเชื่อและค่านิยมพื้นฐานของวายแวมได้เกิดขึ้นผ่านทางกระบวนการในการฟัง พระสุรเสียงของพระเจ้าและฟังความคิดเห็นของกันและกันในช่วงหลายทศวรรษ  กระบวนการในการหาเอกลักษณ์ของค่านิยมได้ถูกริเริ่มขึ้นโดยคุณดาร์ลีน คันนิ่งแฮม ในปี ค.ศ. 

1985 ซึ่งเป็นปีที่วายแวมได้เฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปี เพื่อที่จะสามารถส่งต่อให้กับคนรุ่นต่อไป  เอกสารได้รับการอนุมัติหกปีหลังจากนั้นโดยสภานานาชาติในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งในขณะนั้นสภานานาชาติ (IC) อยู่ในฐานะผู้อาวุโสขององค์กรระดับนานาชาติ  ตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นมา กลุ่มผู้อาวุโสระดับนานาชาติได้ทำงานภายใต้ชื่ออื่นๆ อีกหลายชื่อ  ตอนแรกถูกเรียกว่า สภานานาชาติ (CI) ภายหลังถูกเปลี่ยนชื่อเป็น กลุ่มผู้นำระดับโลก (GLT)  และถูกเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น สภาอภิปรายผู้นำระดับโลก (GLF) สภานี้สิ้นสุดการทำงานลงในปี  2014 ณ ประเทศสิงคโปร์  

เพื่อปรับโครงสร้างให้มีการกระจายตัวออกเป็นแนวราบและเพื่อให้มีหน่วยงานระดับท้องถิ่นมาก ขึ้น โดยมาแทนที่โครงสร้างแบบลำดับชั้น  
ในปัจจุบันได้มีกลุ่มผู้นำอาวุโสทางด้านฝ่ายจิตวิญญาณอยู่ทั่วพันธกิจ 
หลายกลุ่มเป็นที่รู้จักในนาม ทีมแวดวงภูมิภาค (ACTs)  

กลุ่มผู้อาวุโสกลุ่มหนึ่งได้มีการรวมตัวกันโดยการนำของคุณลอเร็นและคุณดาร์ลีน คันนิ่งแฮม  และเป็นที่รู้จักในนาม กลุ่มผู้ก่อตั้ง (FC) 
จากหลายทศวรรษที่ผ่านมา หน้าที่หลักๆ ของกลุ่มผู้นำอาวุโสทางด้านฝ่ายจิตวิญญาณ  (ไม่ว่าจะเป็น IC, GLT, หรือ FC) คือการยืนยัน  
ปกป้องและรักษาเอกสารที่เป็นรากฐานขององค์กร ถึงแม้ว่า FC จะไม่ได้ปกครองดูแล  ระบบผู้นำก่อนหน้านี้  
แต่พวกเขาได้มีบทบาทในการปกป้องเอกสารที่เป็นรากฐานของเราและทำให้มันชัดเจนมากยิ่งขึ้ น 

ประวัติศาสตร์ของค่านิยมวายแวม ตั้งแต่ที่คุณดาร์ลีนได้นำเสนอในปี ค.ศ. 1985  และได้รับการอนุมัติโดย IC ในปี ค.ศ. 1991 รวมถึงการปรับข้อมูลโดย GLT ในปี ค.ศ. 2003  และ โดย GLF ในปี ค.ศ. 2011 และ 2014 นอกจากนี้ FC ยังได้ทำการยืนยันการปรับข้อมูล  ในปี ค.ศ. 2017 ในระหว่างการประชุม UofN ที่ประเทศคอสตาริกา เกี่ยวกับการรวมเอา  “การรับใช้” มาอยู่ภายใต้การตอบสนองต่อหลักการความเชื่อของเรา  

และมีการปรับปรุงข้อมูลอีกในปี ค.ศ. 2018 ในระหว่างการประชุม YWAM Together  ที่ประเทศไทย ซึ่งเป็นการทำให้ค่านิยมพื้นฐานข้อที่ 15 ชัดเจนมากยิ่งขึ้น  และในช่วงเวลาเดียวกันนั้นก็ได้มีการรวมเอาคำแถลงจุดประสงค์ หลักการความเชื่อ  และค่านิยมพื้นฐานมาอยู่ในเอกสารเดียวกัน  
เอกสารดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองโดยกลุ่มผู้ก่อตั้งในเดือนพฤษภาคม ปีค.ศ. 2020  ให้มีการเขียนคำแถลงจุดประสงค์และค่านิยมพื้นฐานข้อที่ 4 และ 7 ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น 

เอกสารที่ได้รับการปรับปรุงใหม่นี้ พร้อมด้วยเอกสารพันธสัญญาทั้งหกฉบับ ซึ่งเป็นรากฐานขององค์กรวายแวม 
• 1988: พันธสัญญากรุงมะนิลา 
• 1992: พันธสัญญาทะเลแดง 
• 2002: พันธสัญญาหนานหนิง 
• 2010: พันธสัญญาปีแห่งพระสัญญา 
• 2014: พันธสัญญาสิงคโปร์ 
• 2014: พันธสัญญาหยุดยั้งการขาดแคลนพระคัมภีร์

ความเป็นตัวตนและงานรับใช้ของวายแวมได้รับการทำให้ชัดเจนมากขึ้นโดยสิ่งที่เรารู้จั กในนามของ “มรดกถ้อยคำทั้งสี่” โดยพระเจ้าได้ประทานให้กับคุณลอเร็น คันนิ่งแฮม มาหลายปี  ซึ่งได้รวมถึง “ทั้งหมด” และ “ทุกๆ” ในการทรงเรียกของเรา  

คำเหล่านี้เป็นคำสำคัญที่มาจากพระเจ้า ซึ่งตลอดประวัติศาสตร์ของเราที่ผ่านมา  คำเหล่านี้ได้นำและหล่อหลอมมรดกทางพันธกิจของเรา ซึ่งได้รวมอยู่ใน 
​

1. พันธสัญญานิมิตแห่งคลื่น ซึ่งลอเร็นได้รับในเดือน มิถุนายน ปีค.ศ. 1956 ที่ บาฮามัส  ไม่นานหลังจากวันเกิดครบรอบ 21 ปีของเขา 
2. การทรงเรียกให้สร้างสาวกให้กับบรรดาประชาชาติผ่านทางสังคมเจ็ดด้าน (1975) 3. คริสเตียนแม็คนา คาร์ต้า (1981) 
4. ฉันทามติในการหยุดยั้งการขาดแคลนพระคัมภีร์ตั้งแต่บัดนี้ (1967 & 2014) 
ทั้งหมดนี้อยู่บนพื้นฐานของเรื่องราวขององค์กรในยุคแรกๆ  
และเรายังคงเติบโตในความเข้าใจและการปฏิบัติในมรดกทั้งสี่คำนี้


​

YWAM.org

university of the nations

contact: info@ywamvalues.com

  • Home
  • AUTHORS TEAM
  • PURPOSE, BELIEFS & VALUES
  • 4 LEGACY WORDS
    • THE VISION OF THE WAVES
    • THE SEVEN SPHERES OF INFLUENCE
    • THE CHRISTIAN MAGNA CARTA
    • END BIBLE POVERTY
  • DISCOVERY STARTERS
  • THE BELIEF TREE
  • COVENANTS
    • THE MANILA COVENANT
    • THE RED SEA COVENANT
    • THE NANNING COVENANT
    • THE JUBILEE COVENANT
    • THE SINGAPORE COVENANT
    • A COVENANT TO END BIBLE POVERTY
  • Who is Jesus to you
  • TRIPOD MESSAGE
  • VALUES COURSE
  • STORE
    • Paperback - English
    • Paperback - Espanol
    • Case of 40 - English
    • Case of 40 - Espanol
    • AUDIO BOOK
    • KINDLE - English
    • Francais (French)
    • Norsk (Norwegian)
    • Український (Ukrainian)
    • ไทย (Thai)
    • Tiếng Việt (Vietnamese)
    • മലയാളം (Malayalam)
    • हिंदी (Hindi)
    • తెలుగు (Telugu)
    • தமிழ் (Tamil)
    • русский (Russian)
    • Svenska (Swedish)