มรดกถ้อยคำทั้งสี่ของวายแวม
ในปี ค.ศ. 2015 ฉันพบว่าตัวเองเผชิญกับสถานการณ์ที่ลำบากใจ
เพราะสิ้นเดือนมิถุนายนลอเร็นจะมีอายุครบ 80 ปี
และฉันรู้ว่าวายแวมทั่วโลกต้องการที่จะเฉลิมฉลองการครบรอบที่สำคัญนี้ แต่ลอเร็นไม่ต้องการ มันไม่ใช่ว่าเขาพยายามปฏิเสธว่าเขาแก่ตัวลง
แต่เป็นเพราะเขาไม่ต้องการที่จะเป็นจุดสนใจเท่านั้นเอง
เขาอยากให้งานนี้ผ่านไปด้วยงานปาร์ตี้เล็ก ๆ
ภายในครอบครัวและฉลองด้วยการกินไอศกรีมด้วยกัน
โชคดีที่เพื่อนสนิทของเรา ดาวิด แฮมิลตัน เข้าใจหัวใจของลอเร็นเป็นอย่างดี และเขาเข้าใจถึงปัญหานี้ เขาจึงคิดแผนการที่สร้างสรรค์ คือในเดือนกันยายน ของปี 2015 มีเจ้าหน้าประมาณ 1,300 คน และผู้นำจาก 72 ประเทศ มารวมตัวกันที่เมือง ทาวน์สวิล ประเทศออสเตรเลีย เพื่อการประชุม วายแวมทูเกทเธอร์ ในช่วงสุดท้ายของการประชุม เราได้มอบของขวัญเพื่อให้เกียรติเขา โดยการใคร่ครวญถึง สี่ กุญแจสำคัญ ซึ่งเป็นคำที่มาจากพระเจ้าโดยตรง
ที่เขามอบให้กับวายแวมและนำเราตลอดประวัติศาสตร์ของเรา
คำเหล่านี้กลายมาเป็นที่รู้จักในนาม “มรดกถ้อยคำทั้งสี่”
มรดกแต่ละคำ ถูกนำเสนอให้กับลอเร็นในรูปแบบของเรื่องราว
ระลึกความหลังว่าพระเจ้าได้ทรงมอบถ้อยคำเหล่านี้ให้อย่างไร ต่อหน้าผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด โดยมีการเป่าแตรและมอบของขวัญที่สอดคล้องกัน และจบลงด้วยเค้กวันเกิดขนาดมหึมา โดยเค้กได้ถูกแบกมาบนบ่าของ “นักรบ” ชาวแปซิฟิกหกคน เค้กมีรูปร่างคล้ายกับพระคัมภีร์ ซึ่งเปรียบเสมือนมรดกถ้อยคำที่สี่ นั่นก็คือ การขจัดความขาดแคลนทางพระคัมภีร์เดี๋ยวนี้ ตลอดรายการนั้นเต็มไปด้วยความชื่นชมยินดีและเสียงหัวเราะ
พร้อมด้วยความรู้สึกตื่นตันถึงความยิ่งใหญ่ของพระวจนะคำของพระเจ้าที่ได้มอบให้กับวายแวม และให้กับพระกายของพระคริสต์ผ่านทางลอเร็น ดังนี้เอง
เขาจึงสามารถยินดีได้อย่างเต็มที่ในงาน “ปาร์ตี้”
ของเขาที่จดจ่อไปที่พระเยซูและพระวจนะคำของพระองค์ที่มอบให้กับเรา - ดาร์ลีน คันนิ่งแฮม
มรดกถ้อยคำ #1: นิมิต เรื่องคลื่น – 1956
พันธสัญญาพื้นฐานของวายแวม
ตอนนั้นเป็นเดือนมิถุนายน 1956 ลอเร็น คันนิ่งแฮม อยู่ที่เกาะบาฮามาสกับคนหนุ่มอื่นๆ อีกสี่คน เพื่อทำการประกาศ
และนำคนหนุ่มสาวมารวมตัวกันโดยใช้ของประทานทางด้านดนตรีของพวกเขา ในวันพุธ ตอนประมาณ บ่าย 3 โมง สองสามวันก่อนที่จะถึงวันเกิดครบ 21 ปีของเขา เขาก็คุกเข่าลงข้างเตียงนอนในห้องรับแขกที่มีการตกแต่งอย่างเรียบง่ายในบ้านมิชชันนารีที่เป็ นเจ้าบ้าน เขากำลังถามพระเจ้า ว่าเขาควรจะแบ่งปันเรื่องอะไรดีในตอนเย็นนี้ จากนั้นเมื่อเขาเงยหน้ามองที่กำแพงห้อง ก็มีสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น
เขาเล่าว่า “ทันใดนั้นผมเห็นนิมิต...รู้สึกว่าผมกำลังมองดูแผนที่โลก
มันเป็นแผนที่แปลกมากทีเดียว เพราะภาพบนแผนที่โลกนั้นเคลื่อนไหวได้เหมือนของจริง ผมผุดลุกขึ้นนั่งพลางสะบัดศีรษะแล้วขยี้ตาเพื่อให้แน่ใจ
มันเหมือนกับผมกำลังดูหนังอย่างนั้นแหละ ผมมองเห็นภาพทุกทวีปในโลกนี้ มองเห็นภาพคลื่นทะเลกำลังซัดสาดเข้าหาฝั่ง
ครั้งแรกคลื่นนั้นซัดขึ้นฝั่งไปได้หน่อยหนึ่งก็ไหลกลับ
ครั้งต่อไปซัดขึ้นฝั่งไกลขึ้นไปอีกแล้วไหลกลับ มันเป็นอยู่เช่นนี้
จนกระทั่งคลื่นทะเลซัดขึ้นทั่วทวีปเต็มไปหมด ผมตะลึงงันตาค้างด้วยความตื่นเต้น ขณะผมเฝ้าดูอยู่ ภาพที่เห็นนั้นก็เปลี่ยนไป คลื่นทะเลเปลี่ยนเป็นคลื่นมนุษย์ คนหนุ่มๆ เด็กหนุ่มอายุรุ่นราวคราวเดียวกับผม บางคนก็ยังเด็กกว่าด้วยซ้ำ คนหล่านั้นกำลังออกไปทั่วทวีป พวกเขาออกไปพูดกับผู้คนตามถนน... ตามถิ่นฐานบ้านเรือน ออกไปประกาศเรื่องพระเจ้า พวกเขาเอาใจผู้คนในทุกหนทุกแห่ง เหมือนอย่างพ่อแม่ของผม
เอาใจใส่เด็กหญิงคนนั้นที่แบมือขอทาน ต่อจากนั้นนิมิตที่เห็นก็หายไป
(คัดลอกมาจาก นี่คือพระสุรเสียงแน่หรือ? โดย ลอเร็น คันนิ่งแฮม พร้อมด้วย เจนนีส โรเจอร์, สำนักพิมพ์แม่น้ำ)
พระเจ้าได้ตรัสกับลอเร็น ผ่านนิมิตเรื่องคลื่นนี้ ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่น่าทึ่ง
เป็นการริเริ่มโดยพระเจ้าในการแบ่งปันความฝันของพระองค์กับลอเร็น ซึ่งจะนำมาสู่การจัดตั้ง อนุชนนานาชาติ(YWAM) ในอีก 4 ปีต่อมา ซึ่งภายในหนึ่งชั่วอายุคน
มีคนหนุ่มสาวเป็นล้านที่ชีวิตของเขาที่จะได้รับการสัมผัสโดยพระเจ้า เพราะ นิมิตเรื่องคลื่นนี้
พวกเราก็เป็นส่วนหนึ่งในคนหนุ่มสาวเหล่านั้น
ชีวิตของเราเปลี่ยนไปเพราะว่าพระเจ้าได้สำแดงพระองค์กับลอเร็นในวันนั้นที่เกาะบาฮามาส เมื่อเรานึกย้อนถึงเหตุการณ์นั้น
เราได้ตระหนักว่าช่วงเวลาสำคัญนั้นได้เกิดควบคู่ไปกับช่วงเวลาสำคัญอื่นๆ ในประวัติศาสตร์ด้วย เป็นช่วงเวลาที่พระเจ้าได้เข้ามาแบ่งปันหัวใจของพระองค์ และเป้าหมายของพระองค์สำหรับโลกนี้ แน่นอนที่สุดเราได้ตระหนักชัดว่า นิมิตนี้
การพบเจอกับพระเจ้าอย่างไม่คาดคิดนี้ พระเจ้าเป็นผู้ริเริ่ม การกำหนดจุดหมายปลายทาง พันธสัญญาพื้นฐานที่พระเจ้าให้กับลอเร็น เพื่อการให้กำเนิดกลุ่มเคลื่อนไหวพันธกิจใหม่
การเคลื่อนไหวนี้ควรจะมีลักษณะอย่างไร? อะไรที่จะเป็นองค์ประกอบหลักๆ ของนิมิตแห่งพันธสัญญานี้?
ประการแรก มันเกี่ยวกับอนุชน ซึ่งสิ่งนี้สามารถเป็นทั้ง ความจริงที่เป็นรูปธรรม และเป็นอุปมาสำหรับบางสิ่งบางอย่างที่มากกว่านั้น ความจริงที่เป็นรูปธรรมก็คือ ถ้าหากว่าเราถอยออกห่างจากการสร้างคนหนุ่มสาวแล้ว
เราก็ได้ถอยห่างออกไปจากการทรงเรียกของพระเจ้าสำหรับเราในฐานะชนเผ่าวายแวม และในส่วนของเชิงอุปมานั้นก็คือ
สัญลักษณ์ของการยกเลิกกฎระเบียบของพันธกิจและนวัตกรรมที่ผิดพลาด โดยปกติแล้วอนุชนไม่ได้เป็นกลุ่มที่จะได้รับพิจารณาให้ออกไปทำพันธกิจในช่วงกลางศตวรรษ ที่ 20 มันไม่เคยมีใครทำมาก่อนเมื่อได้ลอเร็นเห็นนิมิตนี้และในปัจจุบันก็ยังเป็นเช่นนั้น นิมิตด้วยพันธสัญญานี้ยังคงเรียกร้องให้เราก้าวต่อไป
ไปทำในสิ่งที่คนอื่นในคริสตจักรยังไม่ได้ทำมาก่อน
เรียกให้เราเป็นอัครทูตที่เป็นผู้นำนิมิตการบุกเบิกแบบสดใหม่
ให้เป็นดั่งการริเริ่มของผู้ประกอบการในฝ่ายพระวิญญาณเพื่อบรรลุเป้าหมายตามพระมหาบัญช า สิ่งนี้เรียกให้เรามีวิถีชีวิตของการบุกเบิกแบบรวดเร็ว เป็นผู้ร่วมสร้างกับพระเจ้า ทำและสนับสนุนให้ผู้อื่นทำสิ่งใหม่ ๆ ในรูปแบบใหม่ ๆ
ประการที่สอง มันเกี่ยวกับ ทั้งหมด (all) และ ทุกๆ (every) คลื่นคนหนุ่มสาวได้ปกคลุมไปทั่ว ทุกๆชาติในทวีปทั้งหมดนั้น มันเกี่ยวกับการเป็นสากล การครอบคลุม การร่วมกัน ถ้าหากว่าเราสูญเสียการ จดจ่อในส่วนของ ทั้งหมด (alls) และ ทุกๆ (everys) แล้ว เราก็สูญเสียการจดจ่อนิมิตของพระเจ้าที่มีสำหรับเราในฐานะที่เป็นกลุ่มเคลื่อนไหว และนี่ก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในด้านของ ทั้งหมด (alls) ในด้านของภูมิศาสตร์เท่านั้น แต่มันก็ยังรวมไปถึงในด้านต่างๆ ทั้งหมด
ขณะที่เรากำลังเคลื่อนไปเพื่อทำการกู้คืนสังคมในด้านต่างๆ ทั้งหมด ภาษาต่างๆ ทั้งหมด และทั้งหมดในด้านต่างๆที่แตกต่างออกไปในชีวิต และประสบการณ์ของมนุษย์ และเมื่อเราทำอย่างนี้แล้ว พันธสัญญานี้จะทำให้เราเติบโตขึ้น
มันจะกลายเป็นคลื่นที่เกิดขึ้นมาอีกครั้งและการขยายกว้างออกไปอย่างต่อเนื่อง และนี่กำลังกล่าวถึงความหลากหลายรุ่นวัย ได้กล่าวซ้ำถึงนิมิตที่ขยายในรูปแบบของการ ทวีคูณ คลื่นแต่ละลูกสร้างขึ้นบนคลื่นลูกเดิมที่มีขึ้นก่อนหน้าแล้ว
แต่ละคลื่นก็ไปสร้างอิทธิพลใหม่ๆ ด้วยวิธีใหม่ๆ
แต่ละคลื่นได้แตะความสูงขึ้นถึงในส่วนที่ไม่เคยเข้าถึงมาก่อน มันไม่เคยอยู่นิ่ง มันเคลื่อนไหวตลอดเวลา มุ่งมั่นที่จะไปในที่ที่ยังไม่มีเรา
มรดกถ้อยคำ #2: ด้านต่างๆ ของสถาบันสังคมที่ทรงอิทธิพล – 1975
มรดกถ้อยคำเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในสังคม 7 ด้าน
นั้นได้มาจากการฟังพระสุรเสียงของพระเจ้า ตามเรื่องสำคัญเหล่านี้
การเปิดเผย ที่ เทือกเขาร๊อคกี้
เจ้าหน้าที่อุทยานที่ประจำการในเทือกเขาร๊อกกี้
รัฐโคโลราโดได้รับโทรศัพท์ซึ่งมีข้อความถึงครอบครัวคันนิ่งแฮมในขณะที่ครอบครัวนี้กำลังมีคว ามสุขในช่วงวันหยุดพักผ่อนกันอยู่ ไม่ทราบว่าคุณลอเร็นและดาร์ลีน
จะมาร่วมทานอาหารเย็นกับคุณบิลและวอเน็ต ไบร์ท ผู้ก่อตั้ง แคมปัสครูเสด ในสัปดาห์นี้ได้หรือเปล่า? ลอเร็นก็ตอบรับคำเชื้อเชิญนั้นอย่างกระตือรือร้น เขาตื่นเต้นที่จะแบ่งปันกับเพื่อนของเขาถึงถ้อยคำ/สิ่ง ลึกซึ้ง ที่พระเจ้าได้มอบให้กับเขา เขาได้ขอความเข้าใจจากพระเจ้า
ว่าจะเห็นประชาชาติได้รับการถูกสร้างให้เป็นสาวกได้อย่างไร
และพระเจ้าก็เพิ่งจะตรัสกับเขาเกี่ยวกับสังคมทั้งเจ็ดด้าน ที่ส่งอิทธิพล หล่อหลอมโลกทัศน์ ความเชื่อ และค่านิยม ของวัฒนธรรม และนี่ช่างเป็นความเข้าใจที่ทะลุทะลวงอย่างแท้จริง เขาคิดว่า
“ถ้าหากว่าเราสามารถที่จะสอนหลักการเบื้องต้นและฝึกฝนปฏิบัติตามอาณาจักรของพระเจ้าในแ ต่ด้านของสังคมทั้งเจ็ดเหล่านี้ได้เราก็สามารถที่จะ เห็นการเปลี่ยนแปลงในชุมชนของเรา และบรรดาประชาชาติ...”
เมื่อเราได้มาเจอกันเพื่อรับประทานอาหารเย็น
ลอเร็นได้เขียนสิ่งที่พระเจ้าได้สำแดงให้กับเขาลงไปในกระดาษ
เขาได้เอาใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อของเขา หลังจากที่จับมือทักทายคุณบิลแล้ว เขาก็ล้วงกระเป๋าเพื่อหยิบกระดาษนั้นออกมา ขณะเดียวกันนั้น คุณบิลก็พูดออกมาว่า “ลอเร็น คุณต้องไม่เชื่อแน่เลยว่าพระเจ้าได้สำแดงอะไรให้ผมเห็น
ถ้าหากว่าเราอยากจะเห็นประชาชาติเปลี่ยนแปลงแล้วละก็
เราจะต้องส่งอิทธิพลต่อทั้งเจ็ดด้านของสถาบันที่แตกต่างในสังคม...”
ตอนแรกก็รู้สึกว่าคุณบิลได้ชิงพูดสิ่งสำคัญไปก่อน แต่หลังจากนั้นลอเร็นก็ได้รับกำลังใจ ที่พระเจ้าได้ยืนยันผ่านทางเพื่อนของเขา
ในถ้อยคำที่เขาได้รับมาจากพระเจ้าเพียงไม่กี่วันก่อนหน้านั้น
ภายในเดือนเดียวหลังจากการพบกับพระเจ้าในฤดูร้อน ปี 1975 ดาร์ลีน ได้ฟัง คุณฟราสซิส แชฟเฟอร์ ผู้ก่อตั้ง L’Abri ได้พูดผ่านทางวิทยุซึ่งเขาเองก็ได้พูดถึงการที่เราจะเห็นประชาชาติ เปลี่ยนแปลงได้นั้น
จะต้องมีการการหล่อหลอมสังคมทั้งเจ็ดด้านด้วยหลักความจริงตามพระคัมภีร์ พระเจ้าได้ดึงความสนใจของพวกเขาแล้วอย่างแน่นอน
พระองค์ได้ตรัสบางอย่างที่ชัดเจนซึ่งจะมีผลต่อการนำไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรมในยุทธวิ ธีการทำพระมหาบัญชาให้สำเร็จจงได้
ตามพื้นฐานความเข้าใจนี้ ในสองปีต่อมา ครอบครัวคันนิ่งแฮม พร้อมด้วยเพื่อนที่รักของพวกเขา ฮาเวิร์ด มาล์มสตัตท์ ก็ได้ร่วมกันก่อตั้ง มหาวิทยาลัยแห่งประชาชาติ
ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยคริสเตียนแบบใหม่ ที่ได้รับการออกแบบเพื่อเป็นการช่วยทวีคูณพันธกิจ ในยุคดิจิตอลแห่งสมัยโลกาภิวัตน์นี้ต่อมามหาวิทยาลัยได้อบรมคนหนุ่มสาวจากกว่า 200 ประเทศในทางของพระเจ้า
อะไรเป็นเป้าหมายของการฝึกอบรมแบบใหม่ที่มีการเรียนรู้โดยการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันนี้? คำตอบก็คือ เพื่อที่จะนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่บรรดาประชาชาติ
โดยมีความตั้งใจในการนำหลักการแบบอาณาจักรของพระเจ้ามาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม ในแต่ละสถาบันที่ทรงอิทธิพลของสังคมทั้งเจ็ดด้าน
สถาบันที่ทรงอิทธิพลของสังคมทั้ง 7 ด้าน
เมื่อคุณอ่านบทสุดท้ายของนวนิยายลึกลับที่ถูกประพันธ์ขึ้นมาอย่างดี
เบาะแสทั้งหมดซึ่งก่อนหน้านี้ที่ได้ทำให้คุณซึ่งเป็นผู้อ่านเดาคลาดเคลื่อน ได้ถูกเปิดเผยให้เห็นอย่างกระจ่างแจ้งซึ่งนำไปสู่การไขปริศนาทุกอย่างชัดเจนมากขึ้น ประหนึ่งนักสืบผู้ยิ่งใหญ่ได้อธิบายหลักฐานต่างๆ ที่น่าประหลาดใจ
จากนั้นเมื่อคุณอ่านนวนิยายเรื่องนี้ซ้ำอีก สิ่งที่เคยคลุมเครือจะชัดเจนอย่างน่าอัศจรรย์ ในทำนองเดียวกันความเข้าใจในกรอบของอิทธิพลทั้งเจ็ดด้านนี้
จะช่วยให้เราสามารถอ่านข้อพระคัมภีร์ซ้ำ
และเข้าใจแนวคิดที่สำคัญที่ได้รับการดลใจจากพระเจ้า
ซึ่งเราอาจมองไม่ได้สังเกตเห็นแนวคิดนี้เมื่อเราอ่านพระคัมภีร์ก่อนหน้านี้
แต่เมื่อเราเห็นแนวคิดนี้แล้วเราจะเห็นมันแค่ข้อพระคัมภีร์บทนี้ หรือ บทนั้นเท่านั้น แต่ทุกที่ตลอดทั้งพระคัมภีร์
มันได้กลายมาเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้ศึกษาพระวจนะว่าพระเจ้าทรงห่วงใยกับการสร้างประชาชาติใ ห้เป็นสาวกมาโดยตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ
ถ้อยคำสำหรับคนรุ่นนี้
ตอนนี้มันถึงเวลาที่สุกงอมแล้วสำหรับเรื่องนี้
ถึงแม้ว่าจะมีความหลากหลายของหัวข้อที่ได้เกิดขึ้นในหลายปีที่ผ่านมา บ้างก็เรียก 7 ด้าน, บ้างก็เรียก 8 ด้าน หรือแม้แต่ 12 ด้านก็มี แต่หลักการพื้นฐานก็ยังคงเดิม พระเจ้าทรงสร้างแต่ละบุคคล (ปฐมกาล 1:26-27) และรักพวกเขา
ต้องการไถ่พวกเขาจากความแตกสลายและความบาป
ในทางเดียวกันพระเจ้าทรงสร้างประชาชาติ (กิจการ 17:26-27)
และรักพวกเขาและต้องการนำอาณาจักรไปสู่การเปลี่ยนแปลง สู่ทุกๆ มิติ ของการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ดังนั้นไม่ว่า ท่านจะเรียกความจริงสิ่งนี้ว่า “สถาบันสังคม”
“ตัวหล่อหลอมความคิด” หรือ “ภูเขา” มันก็ชี้ไปที่ พระเจ้าผู้ทรงใส่ใจในมนุษยชาติทั้ง ส่วนบุคคล และส่วนรวม
พระเจ้าองค์เดียวกันนี้ส่งผู้เผยพระวจนะในสมัยก่อนไปพูดพระวจนะของพระเจ้ากับแต่ละบุคคล (กษัตริย์ แม่ทัพ หญิงม่าย) และก็ได้ส่งไปยังมนุษย์ชาติ (ชนเผ่า เมือง ชนชาติ) พระเจ้าทรงมีพระทัยต่อทั้งบุคคลที่หลงหาย และชนชาติที่หลงหาย
และพระองค์เชื้อเชิญให้เราร่วมมือกับพระองค์เพื่อส่งอิทธิพลนำการเปลี่ยนแปลงของอาณาจักร ของพระเจ้า มาสู่ทุกด้านของชีวิตทั้งส่วนตัวและสาธารณะ
สถานบันสังคมทั้ง 7 ด้านนี้มีอยู่ในทุกสังคม นับตั้งแต่ชนเผ่าก่อนยุคหิน
จนถึงสังคมเมืองใหญ่ที่มีความรู้มากมาย ได้รวมในเรื่องของครอบครัว เศรษฐกิจ รัฐบาล ศาสนา การศึกษา สื่อ และการเฉลิมฉลอง สถาบันสังคมทั้ง 7 ด้านนั้นเป็นพื้นฐานของทุกสังคม เหมือนระบบชีววิทยาในร่างกายของมนุษย์ เป็นอวัยวะภายในที่พระเจ้าได้ออกแบบ ซึ่งจะให้ชีวิตเมื่อมันทำงานในลักษณะที่ถูกต้องเหมาะสม เมื่อพระเจ้าเป็นนักออกแบบด้านต่างๆ ทางสังคมเหล่านี้ มันก็จะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเราที่จะมอบเวลา ใส่ความพยายาม เพื่อที่จะเข้าใจพระประสงค์ของพระองค์ที่มีในแต่ละด้าน
ไม่มีประสบการณ์ส่วนใดของมนุษย์ที่ดำเนินนอกขอบเขตของอาณาจักรของพระเจ้า เราจะต้อง ทำสิ่งที่เราทำ จำเพาะพระพักตร์ การตั้งใจดำเนินชีวิตในการทรงสถิตของพระเจ้า นี่ก็เป็นเพราะว่า พระเยซูทรงเป็นและตั้งใจที่จะเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าในทุกๆ มิติในชีวิตของเรา ทั้งเป็นการส่วนตัวและเป็น ส่วนรวม ดังนั้น ให้เราอธิษฐานว่าพระเจ้าจะสอนเรา ให้สามารถสำแดงพระองค์ได้อย่างถูกต้อง ในด้านต่างๆ ทุกด้านของสังคม ขอให้ความเข้าใจใหม่นี้
ช่วยให้เราทุกคนค้นพบวิธีการดำเนินตามพระประสงค์ของพระเจ้าอย่างสัตย์ซื่อในทุกๆ ด้านที่ทรงอิทธิพลของสังคม
มรดกถ้อยคำ #3: มหาธรรมนูญ คริสเตียนแมกนา คาร์ตา – 1981
ในช่วงปลายปี 1981 เมื่อผู้นำวายแวมจากทั่วโลกมารวมตัวกันที่โคน่า รัฐฮาวาย ในการประชุมการวางแผนยุทธศาสตร์นานาชาติครั้งที่หนึ่ง ตอนนั้นวายแวมมีอายุ 21 ปี และเรารู้สึกว่าวายแวมได้กลายเป็น “ผู้ใหญ่เต็มตัว” แล้ว
ซึ่งในการประชุมครั้งนี้มันเต็มไปด้วยการรอคอยในสิ่งที่พระเจ้าจะตรัสและพระองค์จะทรงนำเรา อย่างไรต่อไป
เมื่อผู้นำได้มารวมตัวกันในช่วงเริ่มต้นของการประชุม
พวกเขามีช่วงเวลาในการนมัสการที่ดื่มด่ำกับพระเจ้า เมื่อช่วงการนมัสการใกล้จะเสร็จสิ้นลง ลอเร็นได้พูดว่า “เป้าหมายของเราไม่ใช่การทำตามวาระการประชุมของเรา แต่เป็นการฟังจากพระเจ้า ก่อนที่เราจะทำอะไรอย่างอื่น
ให้เราแต่ละคนแสวงหาพระเจ้าตามลำพังก่อน
ถามพระเจ้าว่าพระองค์ต้องการที่จะบอกอะไรกับเรา
แล้วหลังจากนั้นเราจะกลับมาและแบ่งปันต่อซึ่งกันและกัน”
ทุกคนต่างแยกย้ายกันออกไปฟังเสียงพระเจ้าตามลำพัง เมื่อลอเร็นได้อยู่ตามลำพัง เขารู้สึกว่าพระเจ้าได้เริ่มที่จะตรัสกับเขา เขาได้แบ่งปันว่า
“ผมได้เขียนอย่างเร็วที่สุดเท่าที่ผมจะสามารถเขียนได้ในสิ่งที่ผมเข้าใจว่าเป็นมหาธรรมนูญคริสเ ตียน แมกนา คาร์ตา”
ดั้งเดิมแล้ว แมกนา คาร์ตา เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ถูกเขียนขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ในช่วงปี ค.ศ. 1215
ซึ่งเป็นเอกสารทางการเมืองฉบับแรกที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ในทำนองเดียวกันนี้ มหาธรรมนูญคริสเตียน แมกนา คาร์ตา
ได้มีรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิในพระกิตติคุณที่มนุษย์ทุกคนควรจะได้รับ ซึ่งมันได้แสดงออกถึงสิ่งที่มีอยู่ในพระมหาบัญชา
เมื่อมองผ่านสายตาของทุกคนที่ควรได้รับประโยชน์จากข่าวประเสริฐในอาณาจักรของพระเจ้า คนที่ยังไม่รู้จักพระเยซูจะสามารถคาดหวังอะไรจากผู้ที่ติดตามพระเยซู? หกข้อนี้ได้นำไปสู่คำตอบที่จับใจและครบถ้วนสมบูรณ์ซึ่งได้สะท้อนให้เห็นทั้งการกระทำและคำ พูดของพระเยซูที่ทรงตรัสว่า “พวกท่านได้ทำกับคนใดคนหนึ่งที่เล็กน้อยที่สุดในพี่น้องของเรานี้ ก็เหมือนทำกับเราด้วย” (มัทธิว 25:40)
มหาธรรมนูญคริสเตียนแมกนา คาร์ ตา
ลอเร็น คันนิ่งแฮม - 1981
ทุกคนบนโลกมีสิทธิที่จะได้รับ:
1. สิทธิในการได้ยินและเข้าใจในข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์
2. สิทธิที่จะมีพระคําภีร์ในภาษาของพวกเขาเอง
3. สิทธิที่จะมีกลุ่มสามัคคีธรรมในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อจะไปร่วมกันได้เป็นประจําทุกสัปดาห์และมี โอกาสได้รับการสอนพระคัมภีร์และนมัสการร่วมกับพระกายพระคริสต์คนอื่นๆด้วย 4. สิทธิที่จะได้รับการศึกษาแบบคริสเตียนสำหรับเด็กๆ
5. สิทธิในการมีปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ในการดํารงค์ชีวิต เช่น อาหาร น้ํา เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัยและ การดูแลรักษาสุขภาพ
6. สิทธิในการมีชีวิตที่สมบูรณ์โดยที่ได้รับการเติมเต็มทั้งในด้านจิตวิญญาณ ด้านความคิด ด้านสังคม ด้านอารมณ์ และด้านร่างกาย
เราขอให้คํามั่นสัญญาโดยพระคุณพระเจ้า
ที่จะทําตามมหาธรรมนูญนี้ให้สําเร็จและมีชิวิตอยู่เพื่อถวายพระสิริแด่พระองค์ จัดทำโดยคณะผู้นำวายแวมนานาชาติ ในปี 1981
มรดกถ้อยคำ #4: หยุดยั้งการขาดแคลนพระคัมภีร์ – 1967
มรดกแห่งถ้อยคำที่ 4 ได้รับการขานรับด้วยความร้อนรน ในช่วงยุคแรกๆ ของคณะอนุชนนานาชาติ (วายแวม) เมื่อคนหนุ่มสาวได้
ออกไปแบ่งปันข่าวประเสริฐของพระเยซู ในปี 1967 ลอเร็น
ได้นำกลุ่มคนหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่งไปออกประกาศ เขาเล่าให้เราฟังว่า
“ผมกำลังร่วมเดินทางกับรถแบบทหารขนาดใหญ่ของวายแวม
ผ่านเม็กซิโกไปยังอเมริกากลาง เราต้องจอดในเมืองหนึ่งของเม็กซิโกที่เต็มไปด้วยฝุ่น เพื่อเปลี่ยนยางล้อที่แบน ขณะที่กลุ่มหนึ่งกำลังจัดการกับรถอยู่นั้น
พวกเราที่เหลือก็ออกไปแจกพระกิตติคุณยอห์นตามบ้าน จากนั้นก็เทศนากลางแจ้ง
หลังจากที่การประชุมของเราสิ้นสุด
สตรีผู้หนึ่งในชุดกระโปรงสีแดงซีดเดินมาหาผม ภาษาสเปนของผมไม่ถึงกับดีนัก แต่ก็พอเข้าใจเธอได้ “ไม่มีที่ไหนในเมืองนี้ ที่เราจะหาพระคัมภีร์ได้ และที่เมืองอื่นใกล้ๆ นี้ก็ไม่มี คุณพอจะมีพระคัมภีร์ในภาษาของฉันไหม?”
ผมจึงจัดแจงหาพระคัมภีร์ให้ เธอฉวยเอาไว้แนบอก และเธอพูดว่า
‘¡Muchísimas gracias, señor!’ (ขอบคุณมากๆ ค่ะ)
ขณะที่เราขับรถออกไป คำถามของสตรีผู้นี้ ยังดังกึกก้องตามหลอกหลอนผม คุณพอจะมีพระคัมภีร์ในภาษาของฉันไหม?” แล้วจากนั้น
ก็มีภาพปรากฏขึ้นต่อหน้าผมอย่างทันที ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่พระคัมภีร์เรียกว่า “นิมิต” ผมเห็นรถบรรทุกใหญ่มาก ไม่ใช่ใหญ่ธรรมดา แต่เหมือนรถขนของขนาดใหญ่ ที่ด้านข้างของรถเขียนว่า ‘Sólo los deshonestos temen la verdad. Santa Biblia, gratis.’
ผมไม่เก่งภาษาสเปนพอที่จะคิดในภาษานั้น ดังนั้นการเห็นประโยคดังกล่าว จึงเป็นอะไรที่ผมแปลกใจมาก ผมค่อย ๆ แปลความหมายตามอย่างช้า ๆ ในใจ มันหมายความว่า “คนไม่ซื่อสัตย์เท่านั้นที่กลัวความจริง พระคัมภีร์แจกฟรี” ช่างเป็นความคิดที่น่าตื่นเต้น วลีนี้ “คนไม่ซื่อสัตย์เท่านั้นที่กลัวความจริง” เป็นอะไรที่ผมไม่เคยคิดมาก่อนเลย และมันยังคงก้องอยู่ในความคิด
นี่เป็นสิ่งที่เข้าเรื่องจริง ๆ ในเวลานั้น
เนื่องจากพวกคอมมิวนิสต์ก็กำลังเผยแพร่คำสอนไปทั่วละตินอเมริกาด้วย
นิมิตนั้นยังคงดำเนินไป ผมเห็นตัวเองกับคนอื่น ๆ
อยู่ด้วยกันทางตอนท้ายของรถ และแจกจ่ายพระคัมภีร์ไปสู่มือที่รับอย่างกระตื้อรื้อร้น เร็วที่สุดเท่าที่เราจะทำได้”
(คัดลอกมาจาก หนังสือที่พลิกฟื้นประชาชาติ, ลอเร็น คันนิ่งแฮม, (2010, สำนักพิมพ์แม่น้ำ) หน้า 170-171
นิมิตเริ่มกลายเป็นจริงขึ้นมาเมื่อคนหนุ่มสาวเหล่านั้นได้แจกจ่ายพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่จำนว น 50,000 เล่ม แก่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยในเม็กซิโก ในช่วงฤดูร้อนนั้น จากการพบเจอกับหญิงคนนั้นในชุดกระโปรงสีแดงซีด ในที่สุดท้ายก็นำมาซึ่งการจัดตั้ง “พระคัมภีร์สำหรับเม็กซิโก” ซึ่งทำให้เกิด
โครงการแจกจ่ายพระคัมภีร์ในหลายสิบประเทศทั่วโลก
จากนั้นที่ เวิร์คชอบ UofN ที่สิงคโปร์ในปี 2003 ลอเร็น
ได้ประกาศสิ่งท้าทายต่อพันธกิจซึ่งเขาได้ รับจากพระเจ้า
ซึ่งเป็นเวลาที่วายแวมตระหนักว่าพันธกิจกำลังไถลออกนอกทิศทางท่ามกลางเรา และเราตั้งใจที่จะปรับให้ตรงกับ ดีเอ็นเอ ที่พระเจ้าทรงมอบให้เรา
เพื่อที่จะเห็นคลื่นแห่งการบุกเบิกลูกใหม่เริ่มต้นขึ้นทั่วโลก ลอเร็นกล่าวว่า “ผมขอกระตุ้นพวกคุณแจกพระคัมภีร์ให้กับบ้านทุกหลังใน โลกนี้ภายในปี 2020 พระคัมภีร์จะต้องเป็นภาษาของพวกเขาเอง และมีวิธีที่พวกเขาจะสามารถเข้าใจได้ง่าย” เมื่อลอเร็นจะมีอายุครบ 85 ในปี ค.ศ. 2020 นี้
นี่เป็นเสียงเรียกร้องของหัวใจของลอเร็นที่เป็นเหมือนของคาเล็บตอนที่เขาอายุ 85 เช่นกัน “ขอมอบแดนเทือกเขานี้ให้แก่ข้าพเจ้า” (โยชูวา 14:12)
การท้าทายที่จะหยุดยั้งความขาดแคลนพระคัมภีร์นี้ได้จับต้องหัวใจของหลายๆ คน
ตอนปลายปี 2014 ลอเร็นพร้อมด้วย ดาร์ลีน และผู้นำวายแวมอีกหลายท่าน ได้เข้าเยี่ยมผู้นำ สำคัญๆ ของ นิกายออร์โธด๊อกซ์ คาทอลิก แองกลิกัน และ อิแวนเจลิคัล ทั่วโลก เพื่อกระตุ้นให้พวกเขาที่จะทำในสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้เพื่อช่วยหยุดยั้งการขาดแคลนพระคั มภีร์
มันได้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในวัตถุประสงค์ของหัวข้อนี้ท่ามกลางผู้นำที่ทรงอิทธิพลเห ล่านี้ ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ “พันธสัญญาหยุดยั้งการขาดแคลนพระคัมภีร์” ได้ถูกเขียนขึ้นมา เพื่อเรียกให้คริสเตียนจากทุกที่ ให้ทำการอธิษฐาน แปล ตีพิมพ์ แจกจ่าย ให้ความรู้ และสร้างแรงจูงใจ ต่อผู้คนที่จะมีส่วนร่วมกับพระคัมภีร์
ในปี ค.ศ. 2015 ฉันพบว่าตัวเองเผชิญกับสถานการณ์ที่ลำบากใจ
เพราะสิ้นเดือนมิถุนายนลอเร็นจะมีอายุครบ 80 ปี
และฉันรู้ว่าวายแวมทั่วโลกต้องการที่จะเฉลิมฉลองการครบรอบที่สำคัญนี้ แต่ลอเร็นไม่ต้องการ มันไม่ใช่ว่าเขาพยายามปฏิเสธว่าเขาแก่ตัวลง
แต่เป็นเพราะเขาไม่ต้องการที่จะเป็นจุดสนใจเท่านั้นเอง
เขาอยากให้งานนี้ผ่านไปด้วยงานปาร์ตี้เล็ก ๆ
ภายในครอบครัวและฉลองด้วยการกินไอศกรีมด้วยกัน
โชคดีที่เพื่อนสนิทของเรา ดาวิด แฮมิลตัน เข้าใจหัวใจของลอเร็นเป็นอย่างดี และเขาเข้าใจถึงปัญหานี้ เขาจึงคิดแผนการที่สร้างสรรค์ คือในเดือนกันยายน ของปี 2015 มีเจ้าหน้าประมาณ 1,300 คน และผู้นำจาก 72 ประเทศ มารวมตัวกันที่เมือง ทาวน์สวิล ประเทศออสเตรเลีย เพื่อการประชุม วายแวมทูเกทเธอร์ ในช่วงสุดท้ายของการประชุม เราได้มอบของขวัญเพื่อให้เกียรติเขา โดยการใคร่ครวญถึง สี่ กุญแจสำคัญ ซึ่งเป็นคำที่มาจากพระเจ้าโดยตรง
ที่เขามอบให้กับวายแวมและนำเราตลอดประวัติศาสตร์ของเรา
คำเหล่านี้กลายมาเป็นที่รู้จักในนาม “มรดกถ้อยคำทั้งสี่”
มรดกแต่ละคำ ถูกนำเสนอให้กับลอเร็นในรูปแบบของเรื่องราว
ระลึกความหลังว่าพระเจ้าได้ทรงมอบถ้อยคำเหล่านี้ให้อย่างไร ต่อหน้าผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด โดยมีการเป่าแตรและมอบของขวัญที่สอดคล้องกัน และจบลงด้วยเค้กวันเกิดขนาดมหึมา โดยเค้กได้ถูกแบกมาบนบ่าของ “นักรบ” ชาวแปซิฟิกหกคน เค้กมีรูปร่างคล้ายกับพระคัมภีร์ ซึ่งเปรียบเสมือนมรดกถ้อยคำที่สี่ นั่นก็คือ การขจัดความขาดแคลนทางพระคัมภีร์เดี๋ยวนี้ ตลอดรายการนั้นเต็มไปด้วยความชื่นชมยินดีและเสียงหัวเราะ
พร้อมด้วยความรู้สึกตื่นตันถึงความยิ่งใหญ่ของพระวจนะคำของพระเจ้าที่ได้มอบให้กับวายแวม และให้กับพระกายของพระคริสต์ผ่านทางลอเร็น ดังนี้เอง
เขาจึงสามารถยินดีได้อย่างเต็มที่ในงาน “ปาร์ตี้”
ของเขาที่จดจ่อไปที่พระเยซูและพระวจนะคำของพระองค์ที่มอบให้กับเรา - ดาร์ลีน คันนิ่งแฮม
มรดกถ้อยคำ #1: นิมิต เรื่องคลื่น – 1956
พันธสัญญาพื้นฐานของวายแวม
ตอนนั้นเป็นเดือนมิถุนายน 1956 ลอเร็น คันนิ่งแฮม อยู่ที่เกาะบาฮามาสกับคนหนุ่มอื่นๆ อีกสี่คน เพื่อทำการประกาศ
และนำคนหนุ่มสาวมารวมตัวกันโดยใช้ของประทานทางด้านดนตรีของพวกเขา ในวันพุธ ตอนประมาณ บ่าย 3 โมง สองสามวันก่อนที่จะถึงวันเกิดครบ 21 ปีของเขา เขาก็คุกเข่าลงข้างเตียงนอนในห้องรับแขกที่มีการตกแต่งอย่างเรียบง่ายในบ้านมิชชันนารีที่เป็ นเจ้าบ้าน เขากำลังถามพระเจ้า ว่าเขาควรจะแบ่งปันเรื่องอะไรดีในตอนเย็นนี้ จากนั้นเมื่อเขาเงยหน้ามองที่กำแพงห้อง ก็มีสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น
เขาเล่าว่า “ทันใดนั้นผมเห็นนิมิต...รู้สึกว่าผมกำลังมองดูแผนที่โลก
มันเป็นแผนที่แปลกมากทีเดียว เพราะภาพบนแผนที่โลกนั้นเคลื่อนไหวได้เหมือนของจริง ผมผุดลุกขึ้นนั่งพลางสะบัดศีรษะแล้วขยี้ตาเพื่อให้แน่ใจ
มันเหมือนกับผมกำลังดูหนังอย่างนั้นแหละ ผมมองเห็นภาพทุกทวีปในโลกนี้ มองเห็นภาพคลื่นทะเลกำลังซัดสาดเข้าหาฝั่ง
ครั้งแรกคลื่นนั้นซัดขึ้นฝั่งไปได้หน่อยหนึ่งก็ไหลกลับ
ครั้งต่อไปซัดขึ้นฝั่งไกลขึ้นไปอีกแล้วไหลกลับ มันเป็นอยู่เช่นนี้
จนกระทั่งคลื่นทะเลซัดขึ้นทั่วทวีปเต็มไปหมด ผมตะลึงงันตาค้างด้วยความตื่นเต้น ขณะผมเฝ้าดูอยู่ ภาพที่เห็นนั้นก็เปลี่ยนไป คลื่นทะเลเปลี่ยนเป็นคลื่นมนุษย์ คนหนุ่มๆ เด็กหนุ่มอายุรุ่นราวคราวเดียวกับผม บางคนก็ยังเด็กกว่าด้วยซ้ำ คนหล่านั้นกำลังออกไปทั่วทวีป พวกเขาออกไปพูดกับผู้คนตามถนน... ตามถิ่นฐานบ้านเรือน ออกไปประกาศเรื่องพระเจ้า พวกเขาเอาใจผู้คนในทุกหนทุกแห่ง เหมือนอย่างพ่อแม่ของผม
เอาใจใส่เด็กหญิงคนนั้นที่แบมือขอทาน ต่อจากนั้นนิมิตที่เห็นก็หายไป
(คัดลอกมาจาก นี่คือพระสุรเสียงแน่หรือ? โดย ลอเร็น คันนิ่งแฮม พร้อมด้วย เจนนีส โรเจอร์, สำนักพิมพ์แม่น้ำ)
พระเจ้าได้ตรัสกับลอเร็น ผ่านนิมิตเรื่องคลื่นนี้ ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่น่าทึ่ง
เป็นการริเริ่มโดยพระเจ้าในการแบ่งปันความฝันของพระองค์กับลอเร็น ซึ่งจะนำมาสู่การจัดตั้ง อนุชนนานาชาติ(YWAM) ในอีก 4 ปีต่อมา ซึ่งภายในหนึ่งชั่วอายุคน
มีคนหนุ่มสาวเป็นล้านที่ชีวิตของเขาที่จะได้รับการสัมผัสโดยพระเจ้า เพราะ นิมิตเรื่องคลื่นนี้
พวกเราก็เป็นส่วนหนึ่งในคนหนุ่มสาวเหล่านั้น
ชีวิตของเราเปลี่ยนไปเพราะว่าพระเจ้าได้สำแดงพระองค์กับลอเร็นในวันนั้นที่เกาะบาฮามาส เมื่อเรานึกย้อนถึงเหตุการณ์นั้น
เราได้ตระหนักว่าช่วงเวลาสำคัญนั้นได้เกิดควบคู่ไปกับช่วงเวลาสำคัญอื่นๆ ในประวัติศาสตร์ด้วย เป็นช่วงเวลาที่พระเจ้าได้เข้ามาแบ่งปันหัวใจของพระองค์ และเป้าหมายของพระองค์สำหรับโลกนี้ แน่นอนที่สุดเราได้ตระหนักชัดว่า นิมิตนี้
การพบเจอกับพระเจ้าอย่างไม่คาดคิดนี้ พระเจ้าเป็นผู้ริเริ่ม การกำหนดจุดหมายปลายทาง พันธสัญญาพื้นฐานที่พระเจ้าให้กับลอเร็น เพื่อการให้กำเนิดกลุ่มเคลื่อนไหวพันธกิจใหม่
การเคลื่อนไหวนี้ควรจะมีลักษณะอย่างไร? อะไรที่จะเป็นองค์ประกอบหลักๆ ของนิมิตแห่งพันธสัญญานี้?
ประการแรก มันเกี่ยวกับอนุชน ซึ่งสิ่งนี้สามารถเป็นทั้ง ความจริงที่เป็นรูปธรรม และเป็นอุปมาสำหรับบางสิ่งบางอย่างที่มากกว่านั้น ความจริงที่เป็นรูปธรรมก็คือ ถ้าหากว่าเราถอยออกห่างจากการสร้างคนหนุ่มสาวแล้ว
เราก็ได้ถอยห่างออกไปจากการทรงเรียกของพระเจ้าสำหรับเราในฐานะชนเผ่าวายแวม และในส่วนของเชิงอุปมานั้นก็คือ
สัญลักษณ์ของการยกเลิกกฎระเบียบของพันธกิจและนวัตกรรมที่ผิดพลาด โดยปกติแล้วอนุชนไม่ได้เป็นกลุ่มที่จะได้รับพิจารณาให้ออกไปทำพันธกิจในช่วงกลางศตวรรษ ที่ 20 มันไม่เคยมีใครทำมาก่อนเมื่อได้ลอเร็นเห็นนิมิตนี้และในปัจจุบันก็ยังเป็นเช่นนั้น นิมิตด้วยพันธสัญญานี้ยังคงเรียกร้องให้เราก้าวต่อไป
ไปทำในสิ่งที่คนอื่นในคริสตจักรยังไม่ได้ทำมาก่อน
เรียกให้เราเป็นอัครทูตที่เป็นผู้นำนิมิตการบุกเบิกแบบสดใหม่
ให้เป็นดั่งการริเริ่มของผู้ประกอบการในฝ่ายพระวิญญาณเพื่อบรรลุเป้าหมายตามพระมหาบัญช า สิ่งนี้เรียกให้เรามีวิถีชีวิตของการบุกเบิกแบบรวดเร็ว เป็นผู้ร่วมสร้างกับพระเจ้า ทำและสนับสนุนให้ผู้อื่นทำสิ่งใหม่ ๆ ในรูปแบบใหม่ ๆ
ประการที่สอง มันเกี่ยวกับ ทั้งหมด (all) และ ทุกๆ (every) คลื่นคนหนุ่มสาวได้ปกคลุมไปทั่ว ทุกๆชาติในทวีปทั้งหมดนั้น มันเกี่ยวกับการเป็นสากล การครอบคลุม การร่วมกัน ถ้าหากว่าเราสูญเสียการ จดจ่อในส่วนของ ทั้งหมด (alls) และ ทุกๆ (everys) แล้ว เราก็สูญเสียการจดจ่อนิมิตของพระเจ้าที่มีสำหรับเราในฐานะที่เป็นกลุ่มเคลื่อนไหว และนี่ก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในด้านของ ทั้งหมด (alls) ในด้านของภูมิศาสตร์เท่านั้น แต่มันก็ยังรวมไปถึงในด้านต่างๆ ทั้งหมด
ขณะที่เรากำลังเคลื่อนไปเพื่อทำการกู้คืนสังคมในด้านต่างๆ ทั้งหมด ภาษาต่างๆ ทั้งหมด และทั้งหมดในด้านต่างๆที่แตกต่างออกไปในชีวิต และประสบการณ์ของมนุษย์ และเมื่อเราทำอย่างนี้แล้ว พันธสัญญานี้จะทำให้เราเติบโตขึ้น
มันจะกลายเป็นคลื่นที่เกิดขึ้นมาอีกครั้งและการขยายกว้างออกไปอย่างต่อเนื่อง และนี่กำลังกล่าวถึงความหลากหลายรุ่นวัย ได้กล่าวซ้ำถึงนิมิตที่ขยายในรูปแบบของการ ทวีคูณ คลื่นแต่ละลูกสร้างขึ้นบนคลื่นลูกเดิมที่มีขึ้นก่อนหน้าแล้ว
แต่ละคลื่นก็ไปสร้างอิทธิพลใหม่ๆ ด้วยวิธีใหม่ๆ
แต่ละคลื่นได้แตะความสูงขึ้นถึงในส่วนที่ไม่เคยเข้าถึงมาก่อน มันไม่เคยอยู่นิ่ง มันเคลื่อนไหวตลอดเวลา มุ่งมั่นที่จะไปในที่ที่ยังไม่มีเรา
มรดกถ้อยคำ #2: ด้านต่างๆ ของสถาบันสังคมที่ทรงอิทธิพล – 1975
มรดกถ้อยคำเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในสังคม 7 ด้าน
นั้นได้มาจากการฟังพระสุรเสียงของพระเจ้า ตามเรื่องสำคัญเหล่านี้
การเปิดเผย ที่ เทือกเขาร๊อคกี้
เจ้าหน้าที่อุทยานที่ประจำการในเทือกเขาร๊อกกี้
รัฐโคโลราโดได้รับโทรศัพท์ซึ่งมีข้อความถึงครอบครัวคันนิ่งแฮมในขณะที่ครอบครัวนี้กำลังมีคว ามสุขในช่วงวันหยุดพักผ่อนกันอยู่ ไม่ทราบว่าคุณลอเร็นและดาร์ลีน
จะมาร่วมทานอาหารเย็นกับคุณบิลและวอเน็ต ไบร์ท ผู้ก่อตั้ง แคมปัสครูเสด ในสัปดาห์นี้ได้หรือเปล่า? ลอเร็นก็ตอบรับคำเชื้อเชิญนั้นอย่างกระตือรือร้น เขาตื่นเต้นที่จะแบ่งปันกับเพื่อนของเขาถึงถ้อยคำ/สิ่ง ลึกซึ้ง ที่พระเจ้าได้มอบให้กับเขา เขาได้ขอความเข้าใจจากพระเจ้า
ว่าจะเห็นประชาชาติได้รับการถูกสร้างให้เป็นสาวกได้อย่างไร
และพระเจ้าก็เพิ่งจะตรัสกับเขาเกี่ยวกับสังคมทั้งเจ็ดด้าน ที่ส่งอิทธิพล หล่อหลอมโลกทัศน์ ความเชื่อ และค่านิยม ของวัฒนธรรม และนี่ช่างเป็นความเข้าใจที่ทะลุทะลวงอย่างแท้จริง เขาคิดว่า
“ถ้าหากว่าเราสามารถที่จะสอนหลักการเบื้องต้นและฝึกฝนปฏิบัติตามอาณาจักรของพระเจ้าในแ ต่ด้านของสังคมทั้งเจ็ดเหล่านี้ได้เราก็สามารถที่จะ เห็นการเปลี่ยนแปลงในชุมชนของเรา และบรรดาประชาชาติ...”
เมื่อเราได้มาเจอกันเพื่อรับประทานอาหารเย็น
ลอเร็นได้เขียนสิ่งที่พระเจ้าได้สำแดงให้กับเขาลงไปในกระดาษ
เขาได้เอาใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อของเขา หลังจากที่จับมือทักทายคุณบิลแล้ว เขาก็ล้วงกระเป๋าเพื่อหยิบกระดาษนั้นออกมา ขณะเดียวกันนั้น คุณบิลก็พูดออกมาว่า “ลอเร็น คุณต้องไม่เชื่อแน่เลยว่าพระเจ้าได้สำแดงอะไรให้ผมเห็น
ถ้าหากว่าเราอยากจะเห็นประชาชาติเปลี่ยนแปลงแล้วละก็
เราจะต้องส่งอิทธิพลต่อทั้งเจ็ดด้านของสถาบันที่แตกต่างในสังคม...”
ตอนแรกก็รู้สึกว่าคุณบิลได้ชิงพูดสิ่งสำคัญไปก่อน แต่หลังจากนั้นลอเร็นก็ได้รับกำลังใจ ที่พระเจ้าได้ยืนยันผ่านทางเพื่อนของเขา
ในถ้อยคำที่เขาได้รับมาจากพระเจ้าเพียงไม่กี่วันก่อนหน้านั้น
ภายในเดือนเดียวหลังจากการพบกับพระเจ้าในฤดูร้อน ปี 1975 ดาร์ลีน ได้ฟัง คุณฟราสซิส แชฟเฟอร์ ผู้ก่อตั้ง L’Abri ได้พูดผ่านทางวิทยุซึ่งเขาเองก็ได้พูดถึงการที่เราจะเห็นประชาชาติ เปลี่ยนแปลงได้นั้น
จะต้องมีการการหล่อหลอมสังคมทั้งเจ็ดด้านด้วยหลักความจริงตามพระคัมภีร์ พระเจ้าได้ดึงความสนใจของพวกเขาแล้วอย่างแน่นอน
พระองค์ได้ตรัสบางอย่างที่ชัดเจนซึ่งจะมีผลต่อการนำไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรมในยุทธวิ ธีการทำพระมหาบัญชาให้สำเร็จจงได้
ตามพื้นฐานความเข้าใจนี้ ในสองปีต่อมา ครอบครัวคันนิ่งแฮม พร้อมด้วยเพื่อนที่รักของพวกเขา ฮาเวิร์ด มาล์มสตัตท์ ก็ได้ร่วมกันก่อตั้ง มหาวิทยาลัยแห่งประชาชาติ
ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยคริสเตียนแบบใหม่ ที่ได้รับการออกแบบเพื่อเป็นการช่วยทวีคูณพันธกิจ ในยุคดิจิตอลแห่งสมัยโลกาภิวัตน์นี้ต่อมามหาวิทยาลัยได้อบรมคนหนุ่มสาวจากกว่า 200 ประเทศในทางของพระเจ้า
อะไรเป็นเป้าหมายของการฝึกอบรมแบบใหม่ที่มีการเรียนรู้โดยการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันนี้? คำตอบก็คือ เพื่อที่จะนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่บรรดาประชาชาติ
โดยมีความตั้งใจในการนำหลักการแบบอาณาจักรของพระเจ้ามาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม ในแต่ละสถาบันที่ทรงอิทธิพลของสังคมทั้งเจ็ดด้าน
สถาบันที่ทรงอิทธิพลของสังคมทั้ง 7 ด้าน
เมื่อคุณอ่านบทสุดท้ายของนวนิยายลึกลับที่ถูกประพันธ์ขึ้นมาอย่างดี
เบาะแสทั้งหมดซึ่งก่อนหน้านี้ที่ได้ทำให้คุณซึ่งเป็นผู้อ่านเดาคลาดเคลื่อน ได้ถูกเปิดเผยให้เห็นอย่างกระจ่างแจ้งซึ่งนำไปสู่การไขปริศนาทุกอย่างชัดเจนมากขึ้น ประหนึ่งนักสืบผู้ยิ่งใหญ่ได้อธิบายหลักฐานต่างๆ ที่น่าประหลาดใจ
จากนั้นเมื่อคุณอ่านนวนิยายเรื่องนี้ซ้ำอีก สิ่งที่เคยคลุมเครือจะชัดเจนอย่างน่าอัศจรรย์ ในทำนองเดียวกันความเข้าใจในกรอบของอิทธิพลทั้งเจ็ดด้านนี้
จะช่วยให้เราสามารถอ่านข้อพระคัมภีร์ซ้ำ
และเข้าใจแนวคิดที่สำคัญที่ได้รับการดลใจจากพระเจ้า
ซึ่งเราอาจมองไม่ได้สังเกตเห็นแนวคิดนี้เมื่อเราอ่านพระคัมภีร์ก่อนหน้านี้
แต่เมื่อเราเห็นแนวคิดนี้แล้วเราจะเห็นมันแค่ข้อพระคัมภีร์บทนี้ หรือ บทนั้นเท่านั้น แต่ทุกที่ตลอดทั้งพระคัมภีร์
มันได้กลายมาเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้ศึกษาพระวจนะว่าพระเจ้าทรงห่วงใยกับการสร้างประชาชาติใ ห้เป็นสาวกมาโดยตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ
ถ้อยคำสำหรับคนรุ่นนี้
ตอนนี้มันถึงเวลาที่สุกงอมแล้วสำหรับเรื่องนี้
ถึงแม้ว่าจะมีความหลากหลายของหัวข้อที่ได้เกิดขึ้นในหลายปีที่ผ่านมา บ้างก็เรียก 7 ด้าน, บ้างก็เรียก 8 ด้าน หรือแม้แต่ 12 ด้านก็มี แต่หลักการพื้นฐานก็ยังคงเดิม พระเจ้าทรงสร้างแต่ละบุคคล (ปฐมกาล 1:26-27) และรักพวกเขา
ต้องการไถ่พวกเขาจากความแตกสลายและความบาป
ในทางเดียวกันพระเจ้าทรงสร้างประชาชาติ (กิจการ 17:26-27)
และรักพวกเขาและต้องการนำอาณาจักรไปสู่การเปลี่ยนแปลง สู่ทุกๆ มิติ ของการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ดังนั้นไม่ว่า ท่านจะเรียกความจริงสิ่งนี้ว่า “สถาบันสังคม”
“ตัวหล่อหลอมความคิด” หรือ “ภูเขา” มันก็ชี้ไปที่ พระเจ้าผู้ทรงใส่ใจในมนุษยชาติทั้ง ส่วนบุคคล และส่วนรวม
พระเจ้าองค์เดียวกันนี้ส่งผู้เผยพระวจนะในสมัยก่อนไปพูดพระวจนะของพระเจ้ากับแต่ละบุคคล (กษัตริย์ แม่ทัพ หญิงม่าย) และก็ได้ส่งไปยังมนุษย์ชาติ (ชนเผ่า เมือง ชนชาติ) พระเจ้าทรงมีพระทัยต่อทั้งบุคคลที่หลงหาย และชนชาติที่หลงหาย
และพระองค์เชื้อเชิญให้เราร่วมมือกับพระองค์เพื่อส่งอิทธิพลนำการเปลี่ยนแปลงของอาณาจักร ของพระเจ้า มาสู่ทุกด้านของชีวิตทั้งส่วนตัวและสาธารณะ
สถานบันสังคมทั้ง 7 ด้านนี้มีอยู่ในทุกสังคม นับตั้งแต่ชนเผ่าก่อนยุคหิน
จนถึงสังคมเมืองใหญ่ที่มีความรู้มากมาย ได้รวมในเรื่องของครอบครัว เศรษฐกิจ รัฐบาล ศาสนา การศึกษา สื่อ และการเฉลิมฉลอง สถาบันสังคมทั้ง 7 ด้านนั้นเป็นพื้นฐานของทุกสังคม เหมือนระบบชีววิทยาในร่างกายของมนุษย์ เป็นอวัยวะภายในที่พระเจ้าได้ออกแบบ ซึ่งจะให้ชีวิตเมื่อมันทำงานในลักษณะที่ถูกต้องเหมาะสม เมื่อพระเจ้าเป็นนักออกแบบด้านต่างๆ ทางสังคมเหล่านี้ มันก็จะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเราที่จะมอบเวลา ใส่ความพยายาม เพื่อที่จะเข้าใจพระประสงค์ของพระองค์ที่มีในแต่ละด้าน
ไม่มีประสบการณ์ส่วนใดของมนุษย์ที่ดำเนินนอกขอบเขตของอาณาจักรของพระเจ้า เราจะต้อง ทำสิ่งที่เราทำ จำเพาะพระพักตร์ การตั้งใจดำเนินชีวิตในการทรงสถิตของพระเจ้า นี่ก็เป็นเพราะว่า พระเยซูทรงเป็นและตั้งใจที่จะเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าในทุกๆ มิติในชีวิตของเรา ทั้งเป็นการส่วนตัวและเป็น ส่วนรวม ดังนั้น ให้เราอธิษฐานว่าพระเจ้าจะสอนเรา ให้สามารถสำแดงพระองค์ได้อย่างถูกต้อง ในด้านต่างๆ ทุกด้านของสังคม ขอให้ความเข้าใจใหม่นี้
ช่วยให้เราทุกคนค้นพบวิธีการดำเนินตามพระประสงค์ของพระเจ้าอย่างสัตย์ซื่อในทุกๆ ด้านที่ทรงอิทธิพลของสังคม
มรดกถ้อยคำ #3: มหาธรรมนูญ คริสเตียนแมกนา คาร์ตา – 1981
ในช่วงปลายปี 1981 เมื่อผู้นำวายแวมจากทั่วโลกมารวมตัวกันที่โคน่า รัฐฮาวาย ในการประชุมการวางแผนยุทธศาสตร์นานาชาติครั้งที่หนึ่ง ตอนนั้นวายแวมมีอายุ 21 ปี และเรารู้สึกว่าวายแวมได้กลายเป็น “ผู้ใหญ่เต็มตัว” แล้ว
ซึ่งในการประชุมครั้งนี้มันเต็มไปด้วยการรอคอยในสิ่งที่พระเจ้าจะตรัสและพระองค์จะทรงนำเรา อย่างไรต่อไป
เมื่อผู้นำได้มารวมตัวกันในช่วงเริ่มต้นของการประชุม
พวกเขามีช่วงเวลาในการนมัสการที่ดื่มด่ำกับพระเจ้า เมื่อช่วงการนมัสการใกล้จะเสร็จสิ้นลง ลอเร็นได้พูดว่า “เป้าหมายของเราไม่ใช่การทำตามวาระการประชุมของเรา แต่เป็นการฟังจากพระเจ้า ก่อนที่เราจะทำอะไรอย่างอื่น
ให้เราแต่ละคนแสวงหาพระเจ้าตามลำพังก่อน
ถามพระเจ้าว่าพระองค์ต้องการที่จะบอกอะไรกับเรา
แล้วหลังจากนั้นเราจะกลับมาและแบ่งปันต่อซึ่งกันและกัน”
ทุกคนต่างแยกย้ายกันออกไปฟังเสียงพระเจ้าตามลำพัง เมื่อลอเร็นได้อยู่ตามลำพัง เขารู้สึกว่าพระเจ้าได้เริ่มที่จะตรัสกับเขา เขาได้แบ่งปันว่า
“ผมได้เขียนอย่างเร็วที่สุดเท่าที่ผมจะสามารถเขียนได้ในสิ่งที่ผมเข้าใจว่าเป็นมหาธรรมนูญคริสเ ตียน แมกนา คาร์ตา”
ดั้งเดิมแล้ว แมกนา คาร์ตา เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ถูกเขียนขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ในช่วงปี ค.ศ. 1215
ซึ่งเป็นเอกสารทางการเมืองฉบับแรกที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ในทำนองเดียวกันนี้ มหาธรรมนูญคริสเตียน แมกนา คาร์ตา
ได้มีรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิในพระกิตติคุณที่มนุษย์ทุกคนควรจะได้รับ ซึ่งมันได้แสดงออกถึงสิ่งที่มีอยู่ในพระมหาบัญชา
เมื่อมองผ่านสายตาของทุกคนที่ควรได้รับประโยชน์จากข่าวประเสริฐในอาณาจักรของพระเจ้า คนที่ยังไม่รู้จักพระเยซูจะสามารถคาดหวังอะไรจากผู้ที่ติดตามพระเยซู? หกข้อนี้ได้นำไปสู่คำตอบที่จับใจและครบถ้วนสมบูรณ์ซึ่งได้สะท้อนให้เห็นทั้งการกระทำและคำ พูดของพระเยซูที่ทรงตรัสว่า “พวกท่านได้ทำกับคนใดคนหนึ่งที่เล็กน้อยที่สุดในพี่น้องของเรานี้ ก็เหมือนทำกับเราด้วย” (มัทธิว 25:40)
มหาธรรมนูญคริสเตียนแมกนา คาร์ ตา
ลอเร็น คันนิ่งแฮม - 1981
ทุกคนบนโลกมีสิทธิที่จะได้รับ:
1. สิทธิในการได้ยินและเข้าใจในข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์
2. สิทธิที่จะมีพระคําภีร์ในภาษาของพวกเขาเอง
3. สิทธิที่จะมีกลุ่มสามัคคีธรรมในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อจะไปร่วมกันได้เป็นประจําทุกสัปดาห์และมี โอกาสได้รับการสอนพระคัมภีร์และนมัสการร่วมกับพระกายพระคริสต์คนอื่นๆด้วย 4. สิทธิที่จะได้รับการศึกษาแบบคริสเตียนสำหรับเด็กๆ
5. สิทธิในการมีปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ในการดํารงค์ชีวิต เช่น อาหาร น้ํา เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัยและ การดูแลรักษาสุขภาพ
6. สิทธิในการมีชีวิตที่สมบูรณ์โดยที่ได้รับการเติมเต็มทั้งในด้านจิตวิญญาณ ด้านความคิด ด้านสังคม ด้านอารมณ์ และด้านร่างกาย
เราขอให้คํามั่นสัญญาโดยพระคุณพระเจ้า
ที่จะทําตามมหาธรรมนูญนี้ให้สําเร็จและมีชิวิตอยู่เพื่อถวายพระสิริแด่พระองค์ จัดทำโดยคณะผู้นำวายแวมนานาชาติ ในปี 1981
มรดกถ้อยคำ #4: หยุดยั้งการขาดแคลนพระคัมภีร์ – 1967
มรดกแห่งถ้อยคำที่ 4 ได้รับการขานรับด้วยความร้อนรน ในช่วงยุคแรกๆ ของคณะอนุชนนานาชาติ (วายแวม) เมื่อคนหนุ่มสาวได้
ออกไปแบ่งปันข่าวประเสริฐของพระเยซู ในปี 1967 ลอเร็น
ได้นำกลุ่มคนหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่งไปออกประกาศ เขาเล่าให้เราฟังว่า
“ผมกำลังร่วมเดินทางกับรถแบบทหารขนาดใหญ่ของวายแวม
ผ่านเม็กซิโกไปยังอเมริกากลาง เราต้องจอดในเมืองหนึ่งของเม็กซิโกที่เต็มไปด้วยฝุ่น เพื่อเปลี่ยนยางล้อที่แบน ขณะที่กลุ่มหนึ่งกำลังจัดการกับรถอยู่นั้น
พวกเราที่เหลือก็ออกไปแจกพระกิตติคุณยอห์นตามบ้าน จากนั้นก็เทศนากลางแจ้ง
หลังจากที่การประชุมของเราสิ้นสุด
สตรีผู้หนึ่งในชุดกระโปรงสีแดงซีดเดินมาหาผม ภาษาสเปนของผมไม่ถึงกับดีนัก แต่ก็พอเข้าใจเธอได้ “ไม่มีที่ไหนในเมืองนี้ ที่เราจะหาพระคัมภีร์ได้ และที่เมืองอื่นใกล้ๆ นี้ก็ไม่มี คุณพอจะมีพระคัมภีร์ในภาษาของฉันไหม?”
ผมจึงจัดแจงหาพระคัมภีร์ให้ เธอฉวยเอาไว้แนบอก และเธอพูดว่า
‘¡Muchísimas gracias, señor!’ (ขอบคุณมากๆ ค่ะ)
ขณะที่เราขับรถออกไป คำถามของสตรีผู้นี้ ยังดังกึกก้องตามหลอกหลอนผม คุณพอจะมีพระคัมภีร์ในภาษาของฉันไหม?” แล้วจากนั้น
ก็มีภาพปรากฏขึ้นต่อหน้าผมอย่างทันที ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่พระคัมภีร์เรียกว่า “นิมิต” ผมเห็นรถบรรทุกใหญ่มาก ไม่ใช่ใหญ่ธรรมดา แต่เหมือนรถขนของขนาดใหญ่ ที่ด้านข้างของรถเขียนว่า ‘Sólo los deshonestos temen la verdad. Santa Biblia, gratis.’
ผมไม่เก่งภาษาสเปนพอที่จะคิดในภาษานั้น ดังนั้นการเห็นประโยคดังกล่าว จึงเป็นอะไรที่ผมแปลกใจมาก ผมค่อย ๆ แปลความหมายตามอย่างช้า ๆ ในใจ มันหมายความว่า “คนไม่ซื่อสัตย์เท่านั้นที่กลัวความจริง พระคัมภีร์แจกฟรี” ช่างเป็นความคิดที่น่าตื่นเต้น วลีนี้ “คนไม่ซื่อสัตย์เท่านั้นที่กลัวความจริง” เป็นอะไรที่ผมไม่เคยคิดมาก่อนเลย และมันยังคงก้องอยู่ในความคิด
นี่เป็นสิ่งที่เข้าเรื่องจริง ๆ ในเวลานั้น
เนื่องจากพวกคอมมิวนิสต์ก็กำลังเผยแพร่คำสอนไปทั่วละตินอเมริกาด้วย
นิมิตนั้นยังคงดำเนินไป ผมเห็นตัวเองกับคนอื่น ๆ
อยู่ด้วยกันทางตอนท้ายของรถ และแจกจ่ายพระคัมภีร์ไปสู่มือที่รับอย่างกระตื้อรื้อร้น เร็วที่สุดเท่าที่เราจะทำได้”
(คัดลอกมาจาก หนังสือที่พลิกฟื้นประชาชาติ, ลอเร็น คันนิ่งแฮม, (2010, สำนักพิมพ์แม่น้ำ) หน้า 170-171
นิมิตเริ่มกลายเป็นจริงขึ้นมาเมื่อคนหนุ่มสาวเหล่านั้นได้แจกจ่ายพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่จำนว น 50,000 เล่ม แก่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยในเม็กซิโก ในช่วงฤดูร้อนนั้น จากการพบเจอกับหญิงคนนั้นในชุดกระโปรงสีแดงซีด ในที่สุดท้ายก็นำมาซึ่งการจัดตั้ง “พระคัมภีร์สำหรับเม็กซิโก” ซึ่งทำให้เกิด
โครงการแจกจ่ายพระคัมภีร์ในหลายสิบประเทศทั่วโลก
จากนั้นที่ เวิร์คชอบ UofN ที่สิงคโปร์ในปี 2003 ลอเร็น
ได้ประกาศสิ่งท้าทายต่อพันธกิจซึ่งเขาได้ รับจากพระเจ้า
ซึ่งเป็นเวลาที่วายแวมตระหนักว่าพันธกิจกำลังไถลออกนอกทิศทางท่ามกลางเรา และเราตั้งใจที่จะปรับให้ตรงกับ ดีเอ็นเอ ที่พระเจ้าทรงมอบให้เรา
เพื่อที่จะเห็นคลื่นแห่งการบุกเบิกลูกใหม่เริ่มต้นขึ้นทั่วโลก ลอเร็นกล่าวว่า “ผมขอกระตุ้นพวกคุณแจกพระคัมภีร์ให้กับบ้านทุกหลังใน โลกนี้ภายในปี 2020 พระคัมภีร์จะต้องเป็นภาษาของพวกเขาเอง และมีวิธีที่พวกเขาจะสามารถเข้าใจได้ง่าย” เมื่อลอเร็นจะมีอายุครบ 85 ในปี ค.ศ. 2020 นี้
นี่เป็นเสียงเรียกร้องของหัวใจของลอเร็นที่เป็นเหมือนของคาเล็บตอนที่เขาอายุ 85 เช่นกัน “ขอมอบแดนเทือกเขานี้ให้แก่ข้าพเจ้า” (โยชูวา 14:12)
การท้าทายที่จะหยุดยั้งความขาดแคลนพระคัมภีร์นี้ได้จับต้องหัวใจของหลายๆ คน
ตอนปลายปี 2014 ลอเร็นพร้อมด้วย ดาร์ลีน และผู้นำวายแวมอีกหลายท่าน ได้เข้าเยี่ยมผู้นำ สำคัญๆ ของ นิกายออร์โธด๊อกซ์ คาทอลิก แองกลิกัน และ อิแวนเจลิคัล ทั่วโลก เพื่อกระตุ้นให้พวกเขาที่จะทำในสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้เพื่อช่วยหยุดยั้งการขาดแคลนพระคั มภีร์
มันได้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในวัตถุประสงค์ของหัวข้อนี้ท่ามกลางผู้นำที่ทรงอิทธิพลเห ล่านี้ ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ “พันธสัญญาหยุดยั้งการขาดแคลนพระคัมภีร์” ได้ถูกเขียนขึ้นมา เพื่อเรียกให้คริสเตียนจากทุกที่ ให้ทำการอธิษฐาน แปล ตีพิมพ์ แจกจ่าย ให้ความรู้ และสร้างแรงจูงใจ ต่อผู้คนที่จะมีส่วนร่วมกับพระคัมภีร์